Page 386 - kpiebook65063
P. 386

แต่อย่างใด แต่คณะผู้บริหารกลับใช้แนวคิดสร้างสรรค์เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหา

               สำคัญของชุมชน นั่นคือ เปลือกไข่เป็ดที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตขนมในพื้นที่นาพันสาม

                     สิ่งสำคัญที่ทำให้โครงการแปรรูปขยะจากเปลือกไข่เป็ดประสบความสำเร็จ และได้รับ

               ความร่วมมือที่ดียิ่งจากชาวบ้านสรุปได้ดังนี้

                     1.  การมีจิตใจใฝ่เรียนรู้และพัฒนาต่อยอด (Growth mindset) ผู้บริหารองค์การบริหาร

               ส่วนตำบลนาพันสาม หน่วยงานราชการในพื้นที่ อาทิ โรงเรียนวัดนาพรม กศน.นาพันสาม
               อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ต่างตระหนักถึงปัญหาขยะจากเปลือกไข่เป็ด         ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               ที่เรื้อรังมานานกว่า 20 ปี และไม่ท้อถอยต่อการแก้ไขปัญหาแม้ว่าจะมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อ
               การจัดเก็บ และมีความมุ่งมั่นหาแนวทางเปลี่ยนขยะให้เป็นรายได้จนประสบความสำเร็จในที่สุด

                     2.  การทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างพลัง (Team-based Project) ผู้บริหารองค์การบริหาร

               ส่วนตำบลนาพันสาม ตระหนักดีว่าการจัดการขยะจากเปลือกไข่เป็ดไม่สามารถให้ใครคนใด
               คนหนึ่งจัดการได้แต่เพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยพลังจากหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่มาระดมความคิด
               และร่วมกันผลักดัน ซึ่งผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามเลือกสร้างทีมงานในพื้นที่

               วัดนาพรม เนื่องจากเจ้าอาวาสวัดนาพรมเป็นผู้นำชุมชนที่ชาวบ้านเคารพนับถืออย่างยิ่ง
               โดยเปลี่ยนพื้นที่วัดนาพรมเป็นพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและระดมสมองแก้ไข

               ปัญหา ซึ่งการประชุมกลุ่มย่อยดังกล่าวจัดขึ้นทุกวันที่ 12 ของเดือนอย่างไม่เป็นทางการในลักษณะ
               สภากาแฟ ทำให้บรรยากาศมีความเป็นกันเองไม่เคร่งเครียดทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนรู้สึกถึง
               ความเป็นมิตรและกล้าแสดงออก สนทนากันในเชิงลึกแบบกัลยาณมิตร (Deep conversation)


                     3.  การใช้เทคนิคการรับฟังอย่างตั้งใจ (Active listening) เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่เกิด
               ร่วมกับการสนทนากันในเชิงลึกแบบกัลยาณมิตร ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม

               และภาคีเครือข่ายสภากาแฟต่างรับฟังข้อมูลปัญหาในพื้นที่อย่างตั้งใจและร่วมกันหาแนวทาง     ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               ในการแก้ไขปัญหาขยะจากเปลือกไข่เป็ดจนสำเร็จลุล่วง และต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้เสริม

               ให้แก่ครัวเรือนผ่านรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน การรับฟังอย่างตั้งใจเป็นกลไกที่เกิดขึ้น
               พื้นฐานความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างคนในพื้นที่ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง “ต้นทุนทางสังคมในระดับสูง”
               ที่ปรากฏในพื้นที่ตำบลนาพันสาม


                     4.  การร่วมมือกันพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง จุดที่เป็นปัญหาที่สุดของชุมชนตำบล
               นาพันสาม (pain point) คือ ขยะจากเปลือกไข่เป็ดมีจำนวนมากและเกินศักยภาพการกำจัด

               วิธีการที่ง่ายที่สุดและสะดวกที่สุดคือการบดเปลือกไข่เป็ดให้ละเอียดและนำไปเป็นปุยในนาข้าว
               อย่างไรก็ตามผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามและภาคีเครือข่ายได้คิดต่อยอดออกไป





                                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   381   382   383   384   385   386   387   388   389   390   391