Page 241 - kpiebook65063
P. 241

ต่อตนเองในทางลบเนื่องจากตนเองมองว่าสภาพความพิการทำให้ตนเองมีความแตกต่างจากสังคม

           และสะสมทัศนคติทางลบจนนำไปสู่การ “ปฏิเสธสังคม”

                 การจัดการผู้พิการในพื้นที่เทศบาลเมืองบ้านสวนเริ่มต้นด้วยการจัดตั้งชมรมผู้พิการ
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   โครงการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้พิการ ซึ่งผู้บริหารเทศบาลได้พยายามยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ
           โดยความร่วมมือของเทศบาลเมืองบ้านสวนและกลุ่มผู้พิการในพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยมี



           มาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 นายกเทศมนตรีได้มอบหมายให้กองสวัสดิการ

           สังคมสำรวจความต้องการของผู้พิการมาอย่างต่อเนื่องและจัดสรรงบประมาณลงไปสู่แผนงานและ
           โครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการให้เป็นรูปธรรม

                 นับตั้งแต่มีการจัดตั้งชมรมผู้พิการในพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลบ้านสวนตั้งแต่

           ปี พ.ศ. 2554 การยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการก็มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจนสามารถ
           ยกระดับเป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในปี พ.ศ. 2558 โดยจัดทำโครงการเพื่อลด
           ความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกลุ่มผู้พิการ ซึ่งผู้บริหารเทศบาลกำหนดวัตถุประสงค์ครอบคลุมเรื่อง

           (1) ลดปัญหาช่องทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง (2) เปลี่ยนผู้พิการให้เป็นพลังที่สร้างสรรค์
           ในสังคม (3) ส่งเสริมสุขภาวะในทุกมิติให้แก่ผู้พิการ และ (4) พัฒนาเครือข่ายทางสังคมให้เข็มแข็ง

           เพื่อพร้อมช่วยเหลือสนับสนุนผู้พิการ
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
                 ภายใต้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ นายกเทศมนตรีได้จัดสรรงบประมาณลงสู่แผนงาน
           และโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการให้ครบทั้ง 4 วัตถุประสงค์

           ดังกล่าว การที่ผู้บริหารเทศบาลมีภาวะผู้นำ กำหนดวิสัยทัศน์ และนโยบายที่ชัดเจนต่อ
           การยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการในพื้นที่เป็นปัจจัยผลักดันแผนงานและการบริหารโครงการต่าง ๆ
           ให้ขับเคลื่อนลงสู่กลุ่มผู้พิการอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง นายวิชิต ชิตวิเศษ ในฐานะ

           นายกเทศมนตรีเมืองบ้านสวน ยึดหลัก “เข้าใจสภาพปัญหา เข้าถึงประชาชน และพัฒนาอย่าง
           ยั่งยืน” ซึ่งได้กำหนดเป็นปรัชญาสำคัญในการกำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานของทุก

           ส่วนงานที่ต้องให้ความสำคัญกับความเดือดร้อนของประชาชนเป็นอันดับแรก และเทศบาล
           ต้องลงมือทำทันที ในการรวบรวมความต้องการของประชากรในพื้นที่ เทศบาลจัดประชุม
           ประชาคมคณะกรรมการชุมชน กลุ่มหรือชมรมต่าง ๆ เป็นประจำทุกเดือน (ยกเว้นช่วงการเกิด

           สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อทางเดินหายใน 2019 (Covid-19) ได้ใช้การประชุม
           ออนไลน์แทน) นอกจากนั้น เทศบาลยังเปิดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเพื่อเป็นแหล่ง

           รวบรวมเสียงสะท้อนจากประชากรทุกกลุ่ม อาทิ สายด่วน website facebook กลุ่มไลน์ เป็นต้น
           ซึ่งเห็นได้ว่า นายกเทศมนตรีและผู้บริหารเทศบาลบริหารงานอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจาก
           หลากหลายแหล่งและรอบด้านเพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์จนนำไปสู่การถ่ายทอดนโยบาย

           ลงสู่ผู้ปฏิบัติงานของเทศบาลทุกระดับ


        2 0    สถาบันพระปกเกล้า
   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246