Page 243 - kpiebook65063
P. 243

บ้านสวนได้สื่อสารวิสัยทัศน์ในเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการอย่างตลอดต่อเนื่องดังกล่าว

           จึงทำให้หน่วยงานภายนอกเข้าใจและเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในพื้นที่
           ร่วมกันในที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เทศบาลบ้านสวนเริ่มต้นสร้างเครือข่ายจากกระบวนการสื่อสาร
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   การบริหารงานแบบปรึกษาหารือกับภาคีเครือข่ายจนพัฒนาไปสู่ “การมีส่วนร่วมสาธารณะ
           วิสัยทัศน์ที่ทำให้ทุกฝ่ายมองเห็นทิศทางการพัฒนาผู้พิการร่วมกันอย่างชัดเจน และนำไปสู่


           อย่างกว้างขวาง” เพื่อร่วมผลักดันวัตถุประสงค์ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทั้ง 4 ประการ

           ผ่านเทคนิคการบริหารโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการด้วยวงจรการบริหารงานแบบคุณภาพ
           ที่เริ่มต้นจากการกำหนดแผนงาน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบประเมินผล และการนำ

           ผลการประเมินไปปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป (Planning, Doing, Checking and
           Acting) หรือที่เรียกโดยย่อว่า วงจร PDCA ซึ่งผู้บริหารเทศบาลนำภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม
           ในทุกขั้นตอนโดยแต่ละขั้นตอนอาจมีภาคีเครือข่ายแตกต่างกัน


                 ตัวอย่างโครงการเยี่ยมบ้านผู้พิการ เป็นโครงการที่เทศบาลบ้านสวนโดยกองสวัสดิการสังคม
           ต้องอาศัยความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อสม และจิตอาสา

           เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกันเพื่อเข้าถึงผู้พิการ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุด
           เนื่องจากเป็นขั้นตอนในการค้นหาผู้พิการและนำผู้พิการออกจากทัศนคติทางลบของตนเอง
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           หลังจากเมื่อวางแผนร่วมกันแล้ว ในขั้นของการลงพื้นที่เทศบาลอาศัยความช่วยเหลือจาก อสม
           และจิตอาสา เป็นหลักในการนำเจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคมเข้าไปเยี่ยมบ้านเพื่อเก็บรวมรวบ
           ความต้องการของผู้พิการมากำหนดเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ

           ต่อไป

                 เมื่อรวบรวมความต้องการได้แล้ว กองสวัสดิการสังคม อสม. และจิตอาสา ยังคงประชุม

           ปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อทวนสอบข้อมูลที่ได้มาจากผู้พิการเพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริงของ
           ผู้พิการที่ถูกต้องและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งหากพบว่า ผู้พิการยังมีทัศนคติทางลบ

           ต่อตนเองหรือปฏิเสธสังคม เจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคมจะบูรณาการร่วมกับอาสาสมัคร
           สาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเยี่ยมผู้พิการถึงสถานที่พักและส่งเสริมให้กำลังใจและดึงจิตใจ
           ผู้พิการให้เห็นถึงคุณค่าในตัวเอง หรือหากความต้องการของผู้พิการเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับเงินทุน

           ในการประกอบอาชีพสำหรับผู้พิการ เทศบาลเมืองบ้านสวนจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสาน
           ข้อมูลให้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี (พมจ. ชลบุรี) ต่อไป

           หากเป็นเรื่องของการรักษาพยาบาลหรือฟื้นฟู เทศบาลบ้านสวนจะประสานงานกับโรงพยาบาล
           ส่งสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลชลบุรี หรือวิทยาลัยสิริธร แล้วแต่กรณี หรือหากเป็นเรื่องของ
           การขาดแคลนกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน หรือขาดแคลนสิ่งของเครื่องใช้





        2 2    สถาบันพระปกเกล้า
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248