Page 242 - kpiebook65063
P. 242

การรับฟังเสียงสะท้อนจากประชากรกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้พิการ

               เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนเนื่องจากกลุ่มผู้พิการมักมีทัศนคติทางลบต่อตนเองจนปฏิเสธสังคม
               โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีสภาพความพิการภายหลังอันเนื่องจากสภาวะเจ็บป่วยทางร่างกายและ

               อุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพความพิการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้พิการ
               เป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้พิการเลือกที่จะ “ปิดกั้นตัวเองจากสังคมภายนอก” จนยากที่เทศบาล
               จะเข้าถึงได้อย่างทันการณ์ ซึ่งกรณีนี้ยิ่งทำให้ผู้พิการต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความเหลื่อมล้ำ

               ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ                                            ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

                     การทำงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการของเทศบาลบ้านสวนเพื่อให้บรรลุ

               วัตถุประสงค์ทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้น เป็นภารกิจที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งเทศบาล
               และภาคีเครือข่ายที่มาจากหลายภาคส่วน ผู้บริหารเทศบาลและผู้ปฏิบัติงานสังกัดกองสวัสดิการ

               สังคมตระหนักดีว่า อัตรากำลังของเทศบาลมีไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของ
               ผู้พิการได้ทั้งหมด เนื่องจากในสภาพความเป็นจริง เทศบาลเมืองบ้านสวนเป็นเทศบาลที่อยู่ในเขต
               อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทั้งในเชิงสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

               และการเมือง  ดังนั้น การทำงานเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ
               ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น เทศบาลบ้านสวนต้องอาศัยกลไกองค์กรเครือข่ายเข้ามาเป็นภาคี

               ในการร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ

                     ในการแสวงหาเครือข่ายภายนอกเทศบาล กองสวัสดิการสังคมเทศบาลเมืองบ้านสวน

               เริ่มต้นด้วยการสำรวจและศึกษาพื้นที่ของตนเองและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างจริงจัง และพบว่า
               ในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวนและเขตอำเภอเมืองชลบุรี มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาชน
               จำนวนมากที่พร้อมเป็นภาคีเครือข่ายในการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ ประกอบด้วย

               โรงพยาบาลชลบุรี วิทยาลัยสิรินธร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข
               ประจำหมู่บ้าน (อสม) กลุ่มจิตอาสาในพื้นที่ ชมรมผู้พิการในพื้นที่ ตลอดจนภาคเอกชนในพื้นที่   ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

               เป็นต้น

                     สิ่งแรกที่นายกเทศมนตรี ได้นำมาใช้ในการสร้างเครือข่าย คือ การสื่อสารวิสัยทัศน์เทศบาล
               ที่เน้นกลุ่มประชากรผู้พิการ และภารกิจของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการออกไปสู่องค์การ

               ต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกเทศบาลให้มากและกว้างขวางผ่านช่องทางการประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน
               อย่างสม่ำเสมอ จดหมายข่าวต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่หลากหลายในการสื่อสาร
               วิสัยทัศน์ของเทศบาลจนสามารถสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกได้สำเร็จ โดยแยกเป็น

               หน่วยงานภายนอกในกลุ่มกิจกรรมสังคมและให้กำลังใจ กลุ่มการรักษาพยาบาล กลุ่มบำบัดฟื้นฟู
               กลุ่มแก้ไขพฤติกรรมทางสังคม กลุ่มส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ เป็นต้น เนื่องจากเทศบาลเมือง





                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2 1
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247