Page 237 - kpiebook65063
P. 237
ทางร่างกาย จำนวน 568 คน ผู้พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน 66 คน ผู้พิการทาง
สติปัญญา จำนวน 117 คน ผู้พิการทางการเรียนรู้ จำนวน 10 คน ผู้พิการทางออทิสติก จำนวน
17 คน และผู้พิการซ้ำซ้อน จำนวน 43 คน
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ผู้พิการปิดกั้นตนเอง ไม่ออกสู่สังคม รู้สึกเป็นภาระต่อสังคมและไม่มีสิทธิเท่าเทียม เกิดภาวะ
และสถานการณ์ความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำของผู้พิการ ได้แก่ 1) ด้านสังคม
ซึมเศร้า สิ้นหวังและมีภาวะเสี่ยงต่อการคิดฆ่าตัวตาย เนื่องจากผู้พิการเป็นผู้ที่มีข้อจำกัด ทางด้าน
ร่างกาย หรือจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกอับอายในความบกพร่องของตนเอง และคิดว่าตนเอง
เป็นภาระของครอบครัว เกิดช่องว่างระหว่างคนปกติกับผู้พิการ 2) ด้านสาธารณสุข ผู้พิการ
ไม่สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐ เช่น การรักษาพยาบาล สิทธิและสวัสดิการของรัฐ เนื่องจาก
ผู้พิการส่วนใหญ่มีความยากลำบากในการเดินทาง รวมทั้งขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จึงทำให้
ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการที่พึงสมควร
จะได้รับ 3) ด้านเศรษฐกิจ ผู้พิการไม่มีงานทำและไม่มีรายได้ ไม่ได้รับความเสมอภาค
ในการประกอบอาชีพ เพราะความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือจิตใจ จึงทำให้ไม่สามารถเข้าถึง
อาชีพและความถนัดของตนเอง หรือไม่สามารถเดินทางไปทำงานตามสถานที่ต่างๆ ได้ อีกทั้ง
ผู้พิการบางรายไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีรายได้ แต่มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เป็นปัญหาหลัก
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ของครอบครัวผู้พิการ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม ในสังคมทั่วไป คนปกติสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตาม
สภาพพื้นที่ที่มีอยู่ ซึ่งต่างจากผู้พิการต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
มีสิ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะตัวแยกตามประเภทของความพิการ เช่น การทำทางลาด ทางเท้า
ปรับปรุงที่อยู่อาศัย อุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ฯลฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล
เพิ่มเติม ให้การดำรงชีวิตสะดวก 5) ด้านการศึกษา ผู้พิการส่วนหนึ่งไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ส่งผลให้ด้อยโอกาสซ้ำซ้อน ขาดความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับของตนเอง ผู้พิการได้รับ
การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัย 6) ด้านการเมือง เมื่อสภาพร่างกายและจิตใจ
รวมถึงขาดการศึกษาไม่พร้อม ทำให้ขาดความมั่นใจ ในการเข้าร่วมกับสังคมหรือขาดความสนใจ
จากสังคม ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม ขาดโอกาสในการร่วมรับรู้
ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ในกระบวนการบริหารจัดการของภาครัฐ
เทศบาลเมืองบ้านสวน ตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำของผู้พิการที่เกิดขึ้นในพื้นที่
จึงจัดให้มีกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้พิการเมื่อปี พ.ศ. 2554 ประมาณ 500 ราย โดยเจ้าหน้าที่เทศบาล
และทีมพยาบาลลงพื้นที่ตรวจสุขภาพและพูดคุยให้กำลังใจ อย่างไรก็ตาม ผู้พิการมีทัศนคติเชิงลบ
ต่อสภาพความพิการของตนเองจนกลายเป็นผู้ที่ปฏิเสธสังคม และไม่กล้าบอกความต้องการของ
ตนเอง ดังนั้น ในระยะเริ่มต้น กลุ่มผู้พิการจึงได้จัดตั้งชมรมผู้พิการขึ้นในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน
22 สถาบันพระปกเกล้า