Page 240 - kpiebook65063
P. 240

สังคมใช้กลุ่มผู้พิการที่มีทัศนคติที่ดีเข้าไปเยี่ยมบ้านของผู้พิการก่อน เป็นรูปแบบเพื่อนพิการเยี่ยม

               เพื่อนพิการ เพื่อเป็นสื่อในการแก้ไขทัศนคติทางลบให้กลายเป็นบวก และพูดคุยหารือระหว่าง
               เพื่อนพิการกันเองจนนำไปสู่การเปิดใจยอมรับสังคม และเข้าร่วมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต

               ผู้พิการของเทศบาลเมืองบ้านสวน ในขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลามากเนื่องจากผู้พิการแต่ละคนมีระดับ
               การยอมรับสังคมแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การใช้ผู้พิการไปเยี่ยมผู้พิการด้วยกันเองมักประสบ
               ความสำเร็จมากกว่าการนำบุคคลทั่วไปเข้าไปเยี่ยมบ้านของผู้พิการ เนื่องจากผู้พิการมีทัศนคติ

               ที่เชื่อว่า คนทั่วไปไม่อาจรับรู้ถึงสภาพจิตใจของผู้พิการได้อย่างลึกซึ้งเพราะคนทั่วไปไม่เคยใช้ชีวิต
               แบบผู้พิการมาก่อน ดังนั้น  เมื่อผู้พิการเห็นผู้เข้าไปเยี่ยมเป็นผู้พิการเช่นเดียวกับตน การเปิดใจ     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               ในการรับความช่วยเหลือหรือพูดคุยจึงง่ายขึ้น แม้ว่าบางรายใช้เวลาในการเข้าถึงเป็นระยะเวลา
               นานกว่าจะเปิดใจยอมรับความช่วยเหลือ


                     เมื่อนายกเทศมนตรี ผู้บริหารเทศบาล และผู้บริหารกองสวัสดิการสังคมได้รับข้อมูล
               ที่มาจากขั้นตอนการเยี่ยมบ้านแล้ว ผู้บริหารเทศบาลก็จะจัดสรรทรัพยากรลงไปสู่แผนงานและ
               โครงการที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาซึงรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ การจัดสรรทรัพยากร

               ของเทศบาลเมืองบ้านสวนมาจากหลายแหล่ง แบ่งเป็น ทรัพยากรที่มาจากการจัดทำงบประมาณ
               รายจ่ายประจำปีของเทศบาล และทรัพยากรที่มาจากการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย

               อาทิ การบริจาคของภาคเอกชน การเบิกจ่ายจากกองทุนสวัสดิการผู้พิการบ้านสวนที่เป็นกองทุน
               ที่มาจากการรวมกลุ่มของผู้พิการในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถตั้งงบประมาณ
               รายจ่ายจากเทศบาลได้ อาทิ การจัดงานวัดเกิด การจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการดำรง

               ชีวิตประจำวัน เป็นต้น

               บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น ๆ ในการดำเนินงาน

                     จุดกำเนิดของโครงการเกิดมาจากการลงสำรวจพื้นที่ของนายกเทศมนตรีและทีมผู้บริหาร

               อย่างต่อเนื่องจนพบจุดสำคัญของปัญหาในระดับชุมชน (Pain Point) ที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมาก  ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               ยิ่งขึ้น คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในประชากรกลุ่มเปราะบาง และจากการประชุมปรึกษาหารือกัน
               ของกลุ่มผู้บริหารเทศบาลได้ข้อสรุปสำคัญก็คือ ประชากรกลุ่มเปราะบางในพื้นที่มีแนวโน้มติดกับ

               ดักความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

                     นายกเทศมนตรี และผู้บริหารเทศบาลทั้งหมดจึงยกระดับเรื่อง “ความเหลื่อมล้ำ”

               เป็นวาระสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาล ดังนั้น
               นายกเทศมนตรีจึงกำหนดวิสัยทัศน์การบริหารงานเทศบาล ให้ครอบคลุมถึงเรื่องการลด

               ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยมุ่งเน้นไปที่ประชากรกลุ่มเปราะบางใน
               กลุ่มผู้พิการ เนื่องจากผลการสำรวจประจำปีของกองสวัสดิการสังคม พบว่า กลุ่มผู้พิการมีทัศนคติ




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   229
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245