Page 239 - kpiebook65063
P. 239
3) เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการมีสุขภาวะที่ดี กล้าออกสู่สังคม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต
ผู้พิการ ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีและมีความสุข
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
กระบวนการดำเนินงาน
4) เพื่อส่งเสริมและบูรณาการเครือข่ายทุกภาคส่วนโดยสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อขับเคลื่อน
การพัฒนาคุณภาพผู้พิการอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
กิจกรรมการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงาน (How to)
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ จัดตั้งขึ้นเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข
ปัญหาความเหลื่อมล้ำของผู้พิการในพื้นที่ ได้แก่ สอบถามความเป็นอยู่ บันทึกข้อมูลผู้พิการ/
ครอบครัว พูดคุยให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาแนะนำ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้พิการ ชักชวน
ผู้พิการออกสู่สังคม นวดบำบัด และตรวจสุขภาพเบื้องต้น เป็นต้น 2) จัดเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมบ้าน
ผู้พิการ เพื่อดึงผู้พิการที่ปฏิเสธสังคมกลับเข้าสู่สังคมอันนำไปสู่การลดช่องว่างระหว่าง “คนปกติ
กับผู้พิการ” 3) นำข้อมูลจากการลงเยี่ยมบ้านของชมรมผู้พิการหาข้อสรุป ในที่ประชุมของ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตเทศบาลเมืองบ้านสวน ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
พ.ศ. 2559 โดยได้มีภาคีเครือข่าย ได้แก่ ชมรมผู้พิการ รพ.ชลบุรี ร.พ.ส.ต.บ้านสวน
ภาคประชาชน เป็นต้น 4) นำข้อมูลจากการเยี่ยมบ้านของชมรมผู้พิการหาข้อสรุป ในที่ประชุมของ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตเทศบาลบ้านสวน และให้ความช่วยเหลือ เช่น ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง :
เครือข่ายที่ให้ความช่วยเหลือหน่วยงาน/ทีมงานหมอ ครอบครัว รพ.ชลบุรี/ร.พ.ส.ต../อสม./
จิตอาสาในชุมชนให้ความช่วยเหลือ ครอบครัวผู้พิการด้อยโอกาส : รับการสงเคราะห์จากกองทุน
สวัสดิการคนบ้านสวน ผู้พิการต้องการใช้กายอุปกรณ์ : สงเคราะห์กายอุปกรณ์ (วีลแชร์/ไม้เท้า/
ไม้เท้าขาว/วอล์คเกอร์/เตียง ฯลฯ ผู้พิการ/ผู้ดูแลต้องมีอาชีพ : โครงการส่งเสริมอาชีพผู้พิการ
แนะนำการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพที่ พมจ.ชลบุรี โดยการสร้างอาชีพ และแนะนำให้มีงานทำ
มาตรา 33 และมาตรา 35 ผู้พิการต้องการเข้าสถานสงเคราะห์ : เทศบาลประสานส่งต่อ และ
ผู้พิการต้องการให้ปรับสภาพแวดล้อมบ้านผู้พิการ : ซ่อม/สร้างบ้านผู้พิการ
การจัดการผู้พิการไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการที่มิได้พิการมาตั้งแต่กำเนิด
จากคนทั่วไปและเมื่อต้องกลายเป็นผู้พิการ คนโดยส่วนใหญ่ไม่อาจรับอัตภาพการเป็นผู้พิการ
ได้ในระยะเวลาอันสั้น และมักตกอยู่ในวังวนความคิดในทางลบจนถอยหนีออกจากสังคม ดังนั้น
การแก้ไขทัศนคติทางลบของผู้พิการจึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดและยากที่สุดในกระบวนการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ ดังนั้น ความท้าทายสูงสุดของเทศบาลในเรื่องนี้คือ ผู้บริหารเทศบาล
และกองสวัสดิการสังคมต้องทำอย่างไรจึงเข้าถึงจิตใจของผู้พิการให้ได้ ในช่วงแรก กองสวัสดิการ
22 สถาบันพระปกเกล้า