Page 27 - kpiebook65062
P. 27

หากพิจารณาตัวเลขการนำเข้าวัสดุก่อสร้างจากต่างประเทศเข้ามาในสยาม ในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๐
                   - พ.ศ. ๒๔๗๖ (ตารางที่ ๑.๒ และตารางที่ ๑.๓) เห็นได้ว่าการลดการนำเข้าวัสดุก่อสร้างอย่างมีนัย
                   สำคัญเกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๔ หรือปีเศษหลังเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐอเมริกาและ

                   ทวีปยุโรป วัสดุบางรายการลดปริมาณการนำเข้าเพียงช่วงระยะสั้นๆ จากนั้นก็กลับทวีปริมาณเพิ่มขึ้น
                   ไปเท่าเดิมหรือมากกว่า  แม้ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เอง ก็ดูจะไม่ได้มีผลลบต่อปริมาณการนำเข้าวัสดุก่อสร้าง

                   โดยรวมเท่าใดนัก หรืออีกนัยหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ อาจมิได้ส่งผลโดยตรง
                   ต่อความเปลี่ยนแปลงในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในประเทศไทยโดยตรงก็เป็นได้

                   สังคม


                         นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (๒๕๓๕) ได้สรุปโครงสร้างสังคมสยามในช่วงเวลานี้ไว้ว่า สามารถ

                   แบ่งกลุ่มทางสังคมออกได้เป็นห้ากลุ่มหลักๆ คือ เจ้านาย ข้าราชการ คนชั้นกลางนอกระบบราชการ
                   ราษฎรสามัญชน และปัญญาชน แต่ละกลุ่มล้วนมีความเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณ ในวัฒนธรรม

                   ความคิด โลกทัศน์ ไปตามยุคสมัย  กลุ่มทางสังคมเหล่านี้ก่อตัวมาครบห้ากลุ่มแล้วตั้งแต่การสถาปนา
                                                ๙
                   รัฐราชการ (Bureaucratic State) ในรัชกาลที่ ๕ และยังคงการแบ่งช่วงแบ่งกลุ่มดังนี้สืบมา อย่างน้อย
                   จนถึงรัชกาลที่ ๘  อย่างไรก็ดี ลักษณะร่วมที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การตระหนักรู้ถึงการเข้าสู่สมัยใหม่

                   (modernization) ของสยาม การขยายตัวของการศึกษาและการสาธารณสุข ตลอดจนพัฒนาการ
                   การสื่อสารและสื่อสมัยใหม่ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย หรือวิทยุ ทำให้ชนทุกชั้นรับรู้ถึง

                                                                                            ๑๐
                   ความเปลี่ยนแปลงในสังคม อันเป็นกระบวนการที่เริ่มขึ้นแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่รัชกาลที่ ๖   ความรู้สึก
                   ถึงยุคใหม่ สมัยใหม่นี้ปรากฏชัดในสังคมเมือง โดยเฉพาะเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลาง
                   การปกครอง และเมืองท่า เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่เปิดรับวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง

                   ตลอดทั้งรัชสมัย ในทุกช่วงชั้นของสังคม ตัวอย่างเช่น พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ชั้นสูง
                   ทรงสนพระทัยในการถ่ายภาพยนตร์ ฝ่ายราษฎร ข้าราชการ พ่อค้า ก็นิยมการชมภาพยนตร์เพื่อการ

                   พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น

                         ข้อมูลเชิงปริมาณที่สำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ ๗ คือการสำรวจ

                   สำมะโนครัวทั่วพระราชอาณาจักรใน พ.ศ. ๒๔๗๒ อันเป็นการสำรวจสำมะโนครัวทั้งประเทศทุกๆ
                   ๑๐ ปี สำหรับการสำรวจสำมะโนครัวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ นั้นทำพร้อมกันทั้งประเทศในวันที่
                   ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ รวบรวมข้อมูลภูมิประเทศ พลเมือง แยกชาติ ภูมิประเทศที่เกิดของชน

                   ต่างด้าว อายุบุคคล การปลูกไข้ทรพิษ การหาเลี้ยงชีพของพลเมือง พาหนะและอาวุธ   ผลการสำรวจ
                                                                                         ๑๑
                   พ.ศ. ๒๔๗๒ ระบุว่าสยามมีพลเมือง ๑๑,๕๐๖,๒๐๗ คน เพิ่มขึ้นกว่าพลเมืองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ (ซึ่งมี





               1     สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32