Page 25 - kpiebook65062
P. 25

งานศึกษาของพอพันธ์ อุยยานนท์ (๒๕๕๘) ชี้ให้เห็นว่าอันที่จริงแล้วสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
                   ในทศวรรษ ๒๔๗๐ นั้นมีผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยค่อนข้างน้อย สินค้าส่งออกสำคัญคือข้าว ก็ยังคง
                   ขายได้อย่างต่อเนื่อง แม้ราคาจะลดลง แต่ปริมาณการผลิตก็มากขึ้น  นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจไทย

                   ยังเป็นแบบยังชีพหรือเลี้ยงตนเอง มิได้พึ่งพาตลาดหรือการลงทุนจากต่างประเทศ จึงไม่ได้รับผลกระทบ
                                                       ๗
                   จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยรุนแรงนัก  สำหรับหลักฐานร่วมสมัย เช่น รายงานของเซอร์เซซิล
                   ดอร์เมอร์ (Sir Cecil Dormer) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้กล่าวถึง
                   ผลกระทบของสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยาม ว่า


                         “In a year of world-wide financial and economic depression Siam can, at any
                   rate, claim to have fared better than many more advanced and enlightened

                   countries.  The scarcity of population, if nothing else, has saved her from widespread
                   unemployment.  There have been no popular disturbances, no catastrophes of
                   nature, and the Siamese peasant, with his easy-going, contented temperament, his

                   modest needs and simple tastes, has, at least, had as much to eat as in previous
                   years.  Those who have felt most the effects of world conditions in Siam are the

                   foreign element, the Chinese and the European, and, in a lesser degree, the Siamese
                   official class, particularly in the capital.” ๘


                         อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดแล้วสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจสยามในบางด้าน ดังสะท้อน
                   ในตัวเลบงบประมาณแผ่นดินที่ขาดดุล ๓.๙๘ ล้านบาท ใน พ.ศ. ๒๔๗๔  ก่อนหน้านี้รัฐบาลสยาม

                   ได้พยายามเพิ่มภาษี เลิกจ้างข้าราชการชาวต่างประเทศซึ่งมีเงินเดือนและสวัสดิการสูง ยุบรวม
                   หน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่มีหน้าที่และบทบาทซ้ำซ้อน ตลอดจนลดงบประมาณรายจ่ายเงินเดือน
                   ข้าราชการโดยการปลดข้าราชการและลูกจ้างออกเป็นจำนวนมากในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่รู้จักกันในนาม

                   “ดุลยภาพ” นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕

                         งานศึกษาของพอพันธ์ อุยยานนท์ (๒๕๕๘) ยังชี้ให้เห็นว่า ในแง่ของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

                   ช่วงรัชกาลที่ ๗ อาจแบ่งออกได้เป็นสองช่วง คือช่วง พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๓ และช่วง พ.ศ. ๒๔๗๔ –
                   ๒๔๗๗ โดยแบ่งตามขนาดความรุนแรงของปัญหาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและในประเทศ
                   สะท้อนให้เห็นว่าการใช้ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นหมุดหมายในการแบ่งช่วงในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

                   อาจไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร






               1     สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30