Page 24 - kpiebook65062
P. 24
ตารางที่ ๑.๑ รายรับ รายจ่าย และเงินคงคลังในรัชกาลที่ ๗
ปี รายรับ (ล้านบาท) รายจ่าย (ล้านบาท) เกิน/ขาดดุล (ล้านบาท) เงินคงคลัง (ล้านบาท)
๒๔๖๘ ๙๒.๗๑ ๙๔.๖๕ -๑.๙๔ ๕๔.๒๐
๒๔๖๙ ๑๐๐.๕๙ ๑๐๐.๕๕ +๐.๐๔ ๕๗.๖๘
๒๔๗๐ ๑๑๗.๔๔ ๑๑๒.๑๓ +๕.๓๑ ๗๙.๖๖
๒๔๗๑ ๑๐๖.๙๖ ๑๐๑.๗๐ +๕.๒๖ ๘๒.๖๐
๒๔๗๒ ๑๐๘.๑๒ ๙๘.๖๒ +๙.๕๐ ๗๕.๔๐
๒๔๗๓ ๙๖.๓๒ ๙๑.๖๖ +๔.๖๖ ๖๗.๕๕
๒๔๗๔ ๗๘.๙๕ ๘๒.๙๐ -๓.๙๕ ๓๙.๗๐
๒๔๗๕ ๗๙.๖๕ ๗๐.๒๓ +๙.๔๒ ๕๔.๔๓
๒๔๗๖ ๘๓.๗๓ ๗๓.๖๗ +๑๐.๐๙ ๖๖.๓๔
ที่มา: ปรับปรุงจาก พอพันธ์ อุยยานนท์, เศรษฐกิจไทยสมัยรัชกาลที่ ๗ รักษาเสถียรภาพ ปูพื้นฐานการพัฒนา (กรุงเทพฯ :
โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, ๒๕๕๘), ๖๐-๖๒.
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจในช่วงรัชสมัยเหตุการณ์หนึ่ง คือสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
(The Great Depression of 1929) อันเป็นสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงหลัง
สงครามโลกครั้งที่ ๑ ทำให้ตลาดหุ้นที่นครนิวยอร์กล้มในวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ และส่งผล
สะเทือนไปทั่วโลกในเวลาต่อมา เหตุการณ์ในครั้งนั้นมักถูกใช้เป็นคำอธิบายความเปลี่ยนแปลงทาง
สังคมและการเมืองการปกครอง รวมทั้งสถาปัตยกรรมในประเทศไทยในเวลาต่อมาอย่างง่ายๆ เช่น
“สภาพเศรษฐกิจทั่วโลกเสื่อมถอยในทศวรรษที่ ๑๙๓๐ (ราว พ.ศ. ๒๔๗๓) ประชาราษฎรและ
ข้าราชการได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส จึงเป็นแรงเหนี่ยวไกปืนปฏิวัติลั่นขึ้นในวันที่
๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕” หรือ “ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ผนวกกับ
๕
ฐานะอันทรุดโทรมของพระคลัง ทำให้การบริหารบ้านเมืองในรัชกาลนี้ดำเนินไปด้วยความฝืดเคืองอย่าง
ยิ่ง จนถึงขั้นต้องทรงตัดและลดงบประมาณรายจ่ายของประเทศลง จนเหลืออยู่ราวกึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับ
รัชกาลก่อน เพราะฉะนั้น สภาพอันอัครฐานอย่างหรูหราของบ้านเมืองจึงยุติลง และกลายเป็นสภาพที่
สะท้อนความจำเป็นและความประหยัดของบ้านเมืองขึ้นแทนที่” ๖
1