Page 23 - kpiebook65062
P. 23
โรงเลื่อย อู่ต่อเรือจำนวนมาก อันเป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการผลิตเพื่อส่งออก
นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในอุตสาหกรรมบางประเภทเพื่อการบริโภคในประเทศ เช่น โรงงานเบียร์
โซดา ยาสูบ ไม้ขีดไฟ เครื่องหนัง เป็นต้น ทั้งโดยทุนจากต่างประเทศและทุนในประเทศ ซึ่งจำนวนมาก
เป็นชนชั้นกลางเชื้อสายจีน
เมื่อรัชกาลที่ ๗ เสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ นั้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจสยาม
เริ่มประสบปัญหา โดยเฉพาะปัญหางบประมาณแผ่นดินขาดดุลต่อเนื่องกันถึงสี่ปีในช่วงปลายรัชกาล
ที่ ๖ อันเป็นผลจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑
ปัญหาของมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) และการกีดกันทางการค้า ประกอบกับปัจจัยภายใน
เช่น การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในราชสำนัก ระบบราชการที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น ประกอบกับงบประมาณใน
การลงทุนสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สูง เช่น การสร้างทางรถไฟและการพัฒนาการชลประทาน
เป็นต้น
ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้น ในพ.ศ. ๒๔๖๕ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง
สภาการคลัง ขึ้น “สำหรับพิจารณาปัญหาทั้งปวงในเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชทรัพย์สำหรับแผ่นดิน”
๒
นอกจากนี้ยังมีพระราชดำริให้จัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ (Siamese Kingdom Exhibition) เพื่อ
“เปิดหูเปิดตาให้ได้บังเกิดความคิดใหม่ในการประดิษฐ์สรรพหัตถกรรมขึ้นโดยนานัปการ ซึ่งสรุปรวม
๓
ก็คือส่วน ๑ แห่งความเจริญดำเนินน่าสำหรับชาติบ้านเมืองมารดรเรานี้” กำหนดจัดที่สวนลุมพินี
ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ทว่าเลิกจัดไปเมื่อรัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต
ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๗ พระประมุขทรงตระหนักดีถึงปัญหาการเงินการคลังของประเทศในรัชกาล
ก่อน จึงทรงเร่งแก้ไขปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการคลังของสยามโดยด่วน ทั้งการตัดทอน
งบประมาณแผ่นดิน โดยเฉพาะงบประมาณของราชสำนัก การรักษาสมดุลของงบประมาณแผ่นดิน
การควบคุมค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ และการจำกัดการก่อหนี้ต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อมุ่งรักษาอำนาจ
๔
อธิปไตยทางเศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง พระบรมราโชบายด้านเศรษฐกิจนี้ส่งผลให้
งบประมาณแผ่นดินของสยามเกินดุลมาโดยตลอดรัชกาล (ยกเว้นปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งงบประมาณขาดดุล
๓.๙๘ ล้านบาท) มียอดเงินคงคลังที่ทวีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่ก่อหนี้สาธารณะขนาดใหญ่ให้เป็น
ภาระแก่รัชกาลต่อมา
12 สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ