Page 28 - kpiebook65062
P. 28

๙,๒๐๗,๓๕๕ คน) ถึง ๒,๒๙๘,๘๕๒ คน หรืออัตราประชากรเพิ่ม ๒๔.๕๖ คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน
                      ในรอบทศวรรษ  ๑๒

                            หากพิจารณาในแง่ความหนาแน่นของประชากรในมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งมีพื้นที่ ๒,๘๑๕ ตาราง

                      กิโลเมตร ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ เช่นเดียวกับ ใน พ.ศ. ๒๔๖๒  การสำรวจสำมะโนครัวทั่วพระราชอาณาจักร
                      ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ ระบุว่า ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ มณฑลกรุงเทพฯ มีประชากรทั้งสิ้น ๙๒๑,๖๑๗ เพิ่มขึ้น

                      จาก พ.ศ. ๒๔๖๒ (ซึ่งมี ๖๖๖,๗๑๙) คน ถึง ๒๕๔,๘๙๘ คน (ตารางที่ ๑.๔) เห็นได้ว่ากรุงเทพฯ
                      มีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มมากขึ้นในอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มของประชากรทั้งพระราชอาณาจักร
                      ในช่วงเวลาเดียวกันมาก


                      ตารางที่ ๑.๔ จำนวนและความหนาแน่นประชากรจากการสำรวจสำมะโนครัว
                      พ.ศ. ๒๔๖๒ และ พ.ศ. ๒๔๗๒.


                                       จำนวนประชากร                        ๒๔๖๒               ๒๔๗๒

                       ประชากรมณฑลกรุงเทพฯ (คน)                          ๖๖๖,๗๑๙             ๙๒๑,๖๑๗
                       ความหนาแน่น (คน ต่อตร.กม.)                          ๒๓๗                 ๓๒๗

                       ประชากรทั้งพระราชอาณาจักร (คน)                   ๙,๒๐๗,๓๕๕          ๑๑,๕๐๖,๒๐๗

                       ความหนาแน่น (คน ต่อ ตร.กม.)                          ๑๘                 ๒๒

                      ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๗ ม.๔.๔/๓ บัญชีสำมโนพลเมืองทั่วพระราชอาณาจักร.


                            ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการเพิ่มจำนวนประชากรสยามในรัชกาลที่ ๗ คือการพัฒนา
                      โครงสร้างพื้นฐานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัชกาล

                      ที่ ๕ เป็นต้นมา การตั้งสภากาชาดสยามใน พ.ศ. ๒๔๓๖ การออกพระราชกำหนดศุขาภิบาลกรุงเทพฯ
                                                                                             ๑๓
                      ร.ศ. ๑๑๖ การตั้งกรมศุขาภิบาล ต่อเนื่องถึงการตั้งกรมสาธารณสุข ใน พ.ศ. ๒๔๖๑  และการออก
                      พระราชบัญญัติการแพทย์ ใน พ.ศ. ๒๔๖๖  ส่งผลให้มาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุขในสยาม
                                                           ๑๔
                      สูงขึ้นตามลำดับ และพัฒนาสืบต่อมาในรัชกาลที่ ๗ ทั้งการแพทยศาสตร์และพยาบาลศาสตร์
                      การอบรมให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับสุขอนามัย การรณรงค์ป้องกันโรคระบาดและโรคร้ายแรง เช่น

                      โรคเรื้อน วัณโรค กาฬโรค อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ











                                                                                                            1
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33