Page 30 - kpiebook65062
P. 30
ในช่วงรัชกาลที่ ๗ นอกจากประชากรเพิ่มมากขึ้นดังกล่าวมาแล้ว ยังเกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นในสังคม
อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ เกิดอาชีพ เช่น นักหนังสือพิมพ์
ดาราภาพยนตร์ นักการธนาคาร เป็นต้น เกิดการรวมกลุ่มตามสาขาอาชีพ สมาคมวิชาชีพ หอการค้า
สมาคมการค้า สโมสรต่างๆ เป็นจำนวนมาก การสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรัชกาลที่ ๖
ตลอดจนการตั้งโรงเรียนวิชาชีพต่าง ๆ เช่น โรงเรียนเพาะช่าง โรงเรียนนางพยาบาลผดุงครรภ์ โรงเรียน
ช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ทำให้เกิดชนชั้นกลางในเมืองที่มีการศึกษา มีความรู้ในทางวิชาชีพสมัยใหม่
ในสังคมที่ค่อย ๆ ก้าวเข้าสู่โลกทุนนิยมสมัยใหม่
พัฒนาการในสังคมสยามที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง คือการคมนาคม ซึ่งการสำรวจสำมะโนครัว
ทั่วพระราชอาณาจักร ใน พ.ศ. ๒๔๖๒ และ พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ให้ข้อมูลพัฒนาการเชิงจำนวนของพาหนะ
ชนิดต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร (ตารางที่ ๑.๕) ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการคมนาคมทั้งทางบก
และทางน้ำ โดยที่การคมนาคมทางบกและทางน้ำมีอัตราความเจริญเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ ๗๕๐
และร้อยละ ๑๕๐ ตามลำดับ
ตารางที่ ๑.๕ จำนวนพาหนะชนิดต่าง ๆ จากการสำรวจสำมะโนครัว พ.ศ. ๒๔๖๒ และ พ.ศ. ๒๔๗๒.
พาหนะ ๒๔๖๒ ๒๔๗๒
เรือกลไฟ ๒๔๐ ๓๓๗
เรือยนตร์ ๓๓๑ ๑,๕๓๘
เรือบรรทุกสินค้า ๒๒,๓๕๙ ๔๗๒๑๐
เรือใช้สรอย ๒๕๖,๑๑๕ ๕๖๔,๓๑๕
รวมเรือทุกชนิด ๒๗๘,๔๗๔ ๖๑๑,๕๒๕
รถม้าบรรทุก ๕ ๒๐๐
รถม้าสองล้อ ๑๐๕ ๒๔๘
รถม้าสี่ล้อ ๑๔๒ ๓๗๐
รถลาก ๑๘๘ ๓,๕๗๕
รถยนตร์นั่ง ๙๐ ๔,๘๒๔
รถยนตร์บรรทุก ๑๕ ๓,๐๒๓
รวมรถยนตร์ทุกชนิด ๑๐๕ ๗,๘๖๒
จักรยาน ๖๖๘ ๒๔,๒๓๒
จักรยานยนตร์ ๗ ๕๕๘
ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๗ ม.๔.๔/๓ บัญชีสำมโนพลเมืองทั่วพระราชอาณาจักร.
19