Page 32 - kpiebook65062
P. 32

การเมืองการปกครอง



                            ในช่วงเก้าปีแห่งรัชสมัย รัชกาลที่ ๗ ทรงตระหนักดีถึงความจำเป็นในการปฏิรูปการเมือง
                      การปกครองของสยามให้ทันกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่
                      รัชกาลก่อน สำหรับการบริหารราชการแผ่นดินนั้น โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นในปีแรก

                                                                              ๑๕
                      ของรัชกาล สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาราชการเป็นการพิเศษ  มีบทบาทในการถวายคำปรึกษา
                      ในการกำหนดนโยบาย ประสานกับองค์กรที่มีมาแต่เดิมคือเสนาบดีสภาและคณะองคมนตรี  และ

                      ต่อมายังทรงตั้งสภากรรมการองคมนตรี (Privy Council) โดยกำหนดบทบาทใหม่ ให้มีอำนาจคล้าย
                      อำนาจนิติบัญญัติ แตกต่างจากเสนาบดีสภา ซึ่งมีอำนาจบริหาร ๑๖


                            แนวพระราชดำริทางการเมืองที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการพัฒนาการปกครองราชอาณาจักร
                      สยามให้เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในรัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา
                      และมีนายกรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการ โดยที่ ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ

                      ให้พระยากัลยาณไมตรี (Francis B. Sayre) ถวายความเห็นเรื่องแนวทางในการเปลี่ยนแปลงระบอบ
                                                    ๑๗
                      การปกครองพร้อมร่างรัฐธรรมนูญ   อย่างไรก็ดี เมื่อรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้นำความเห็นของ
                      พระยากัลยาณไมตรีเข้าสู่ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา คณะอภิรัฐมนตรีก็มีความเห็นว่าประเทศสยาม
                      น่าจะยังไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบ
                      ประชาธิปไตยดังกล่าวในเวลานั้น หากรัฐบาลควรมุ่งปรับปรุงระบบการบริหารราชการให้มี

                      ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิมมากกว่า

                            จากกรอบความคิดดังกล่าว ตลอดรัชสมัยของพระองค์ รัชกาลที่ ๗ มีพระราชดำริที่จะวาง
                      รากฐานการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนในเบื้องต้นในหลายรูปแบบ ทั้งแนว

                      ความคิดเรื่องเทศบาล (municipality) คือการปกครองที่กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นบริหารงบประมาณ
                      และกำหนดนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่นเอง เพื่อฝึกหัดให้ประชาชนรู้จักการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

                      ตัวแทนเข้าไปดำเนินกิจการของท้องถิ่น โดยรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทย
                      ตั้งคณะกรรมการร่างพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ คณะกรรมการดังกล่าวร่าง
                      พระราชบัญญัติเทศบาลแล้วเสร็จแต่ยังมิทันได้ประกาศใช้ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น

                      เสียก่อน ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงประกาศใช้ในเวลาต่อมา คือ ใน พ.ศ. ๒๔๗๖ ๑๘

                            แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการปกครองท้องที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการทดลองตั้งสภา

                      จัดบำรุงสถานที่ ชายทะเลทิศตะวันตก ขึ้น ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ ตามพระราชบัญญัติจัดบำรุงสถานที่
                                                                                    ๑๙
                      ชายทะเลทิศตะวันตก (The Western Seaside Resorts Act B.E. 2469)  มีอำนาจครอบคลุมพื้นที่




                                                                                                            21
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37