Page 36 - kpiebook65062
P. 36

เมือง : บริบทของสถาปัตยกรรม



                            บริบทเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองดังกล่าวเป็นปัจจัยให้เกิดเมืองสมัยใหม่
                      ทั้งกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ ที่เป็นบริบทให้แก่สถาปัตยกรรมไทยในช่วงรัชกาลที่ ๗  การขยายตัว

                      ของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่เมืองที่จำกัด ทำให้เมืองเกิดความหนาแน่นทวีมากยิ่งขึ้น เกิดปัญหา
                      ในการบริหารจัดการเมืองที่รัฐต้องพยายามแก้ไข ทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการแก้ปัญหา

                      เชิงนโยบาย

                      เมืองกับพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง


                            ในรัชกาลที่ ๗ เมืองกรุงเทพฯ ขยายตัวขึ้นตามลำดับ โดยในพื้นที่เมืองชั้นในมีการใช้ที่ดิน
                      ที่หนาแน่นขึ้น ควบคู่ไปกับความพยายามของรัฐบาลในการขยายโครงข่ายถนนออกไปโดยรอบ

                      รองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นจาก ๖๖๖,๗๑๙ คน ใน พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็น ๙๒๑,๖๑๗ คน ใน พ.ศ. ๒๔๗๒

                            ปัญหาในการบริหารจัดการเมืองที่ทวีความหนาแน่นมากขึ้นทุกวันนี้ มีมาตั้งแต่ช่วงปลาย

                      รัชกาลที่ ๕ แล้ว โดยที่รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้นายแพทย์เอช. แคมป์เบลล์ ไฮเอ็ต (Dr H.
                      Campbell Highet) แพทย์ศุขาภิบาล ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก

                      ในการป้องกันอัคคีภัย และการรักษาความสะอาดเรียบร้อยในพื้นที่เมืองกรุงเทพฯ ต่อมาในรัชกาลที่ ๖
                      ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ที่ริมวัดมหรรณพาราม ในย่านที่มีบ้านเรือนราษฎรหนาแน่น
                      กระทรวงนครบาลเห็นเป็นโอกาสดีในการวางผังชุมชนใหม่ จัดรูปที่ดินให้เป็นระเบียบ จึงร่างพระราชกำหนด

                      ขึ้นเพื่อใช้ในการเวนคืนที่ดินและตัดถนนใหม่ ใช้เป็นต้นแบบในการตัดถนนหลังเกิดเพลิงไหม้สืบมา
                      อันเป็นมาตรการเฉพาะกิจ  ส่วนการควบคุมการก่อสร้างให้ได้มาตรฐานทั้งทางการป้องกันอัคคีภัย
                                             ๒๒
                      และความมั่นคง เป็นระเบียบเรียบร้อยนั้น ในพ.ศ. ๒๔๕๙ กระทรวงมหาดไทยได้ข้อสรุปในที่ประชุม
                      เทศาภิบาลว่า จะมีการร่างพระราชบัญญัติแผนผังก่อสร้าง บังคับใช้ในหัวเมืองทั่วไป  และในภายหลัง
                      เมื่อกระทรวงนครบาลยุบรวมเข้ากับกระทรวงมหาดไทยแล้ว ก็มีดำริว่าจะออกพระราชบัญญัติแผนผัง

                      ก่อสร้างที่มีผลบังคับใช้ควบคุมอาคารทั้งในพระนครและหัวเมือง แต่คงค้างอยู่เพียงขั้นตอนการร่าง
                      เท่านั้น  และต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๖๑ เสนาบดีสภาได้มอบหมายให้กระทรวงนครบาลตั้งกรรมการ
                            ๒๓
                      ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างขึ้นอีกครั้ง มีการประชุมกันถึง ๔๐ ครั้งในเวลาสองปี แต่ก็มิได้มี
                      การประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด และต่อมาในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗
                      เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ที่ตลาดโพธาราม จังหวัดราชบุรี กระทรวงมหาดไทยจึงตั้งกรรมการร่าง

                      พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างขึ้นอีกคำรบหนึ่ง แต่เช่นเคย การร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
                      คงค้างมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๖ ๒๔



                                                                                                            2
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41