Page 41 - kpiebook65062
P. 41
สะพานกับการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมของเมือง
แม้แนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนผังพระนครจะยุติลง ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ แต่รัฐบาลสยาม
ก็เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรติดต่อ
ทั้งภายในเมืองกรุงเทพฯ เอง และระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับปริมณฑล
โครงการก่อสร้างที่สำคัญที่สุดโครงการหนึ่ง คือการสร้างสะพานพระราม ๖ อันเป็นสะพานข้าม
แม่น้ำเจ้าพระยาที่บางซ่อน ทางตอนเหนือของพระนคร โครงการนี้เกิดขึ้น ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ ในรัชกาลที่
๖ เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงรถไฟสายเหนือกับรถไฟสายใต้ของกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม ให้มี
ขนาดความกว้างรางเท่ากัน มีศูนย์กลางการเดินรถที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ ที่หัวลำโพง และมีโรงซ่อม
รถไฟที่ตำบลมักกะสัน สะพานพระราม ๖ นี้เป็นโครงถักเหล็ก ๕ ช่วง พาดบนตอม่อคอนกรีตขนาด
ใหญ่ “รวมความยาวของสะพาน ๔๔๓.๖๐ เมตร์ ขนาดกว้างของสะพานนั้น ๑๐ เมตร์ ปันเตรียมไว้
ส่วนหนึ่งสำหรับเปนทางหลวง ให้ยวดยานทุกชนิดผ่านได้กว้าง ๕ เมตร์ อีกส่วนหนึ่งเปนทางรถไฟ กับ
๓๒
นอกจากนี้มีทางคนเดินท้าวสองข้างสะพาน ข้างหนึ่งกว้าง ๑ เมตร์ครึ่ง” สะพานนี้ออกแบบและ
ก่อสร้างโดยบริษัทไดเด (Les établissements Daydé) ซึ่งเป็นบริษัทฝรั่งเศสที่ชำนาญการออกแบบ
ก่อสร้างงานโยธาใหญ่ๆ ทั่วโลก เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ แล้วเสร็จและมีพระราชพิธี
เปิดสะพานในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ๓๓
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สำคัญยิ่งอีกโครงการหนึ่ง คือการสร้างสะพาน
พระพุทธยอดฟ้า ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งพระนครที่ปลายถนนตรีเพ็ชร ไปยังฝั่งธนบุรีที่ใต้วัด
ประยุรวงศาวาส สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง ปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงวาระ
ครบรอบ ๑๕๐ ปีแห่งการสถาปนากรุงเทพมหานครและพระบรมราชจักรีวงศ์ในพ.ศ. ๒๔๗๕ โดยที่
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงเสนอ
ความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑
ว่านอกเหนือจากการสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้ว ทรงเห็นว่า “ไม่มี
อะไรดีไปกว่าที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกสะพานหนึ่ง เป็นสะพานที่ ๒ สำหรับทางรถและ
คนเดิรในสูนย์กลางแห่งพระนครเพื่อเชื่อมการคมนาคมระวางจังหวัดพระนครและธนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่
ใกล้พระนครและมีคนอาศัยอยู่เป็นอันมาก ในขณะเมื่อทำดังนี้ จะเท่ากับขยายพระนครขึ้นยิ่งกว่าเก่า
อีกถึง ๑ ใน ๓” ทั้งนี้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินทรงเห็นว่า “การมีสะพานอัน
๓๔
งดงามข้ามแม่น้ำใหญ่ๆ เป็นการเชิดหน้าชูตาทุกนครที่สำคัญ และจะไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า สะพานที่จะ
สร้างเมื่อคิดให้เป็นรูปร่างและสร้างในทำเลที่เหมาะด้วยแล้ว ก็จะเพิ่มพูลความงดงามของภูมิประเทศ
0 สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ