Page 39 - kpiebook65062
P. 39

ได้โปรดให้นายชาลส์ โบดาร์ต (Charles Baudart) นายช่างนคราทร (City Engineer) ร่างแบบแปลน
                   ขึ้นมาแล้ว ที่ประชุมจึงมีมติตามพระราชดำริ ให้ตั้งคณะกรรมการวางแผนผังพระนคร (Town-
                   planning Committee) ให้อธิบดีกรมนคราทรเป็นประธาน มีกรรมการโดยตำแหน่ง ๓ คน คือผู้แทน

                   กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม นายแพทย์กรมสาธารณสุข และนายช่างนคราทร  นอกจากนี้ยังมี
                   กรรมการที่รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นการเฉพาะตัว ได้แก่ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร

                   ผู้อำนวยการศิลปากรสถาน ราชบัณฑิตยสภา และหลวงสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)
                   สถาปนิกประจำกระทรวงธรรมการ เป็นต้น

                         เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการวางแผนผังพระนครขึ้นแล้ว คณะกรรมการดังกล่าว

                   ได้ประชุมกันสามครั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ อภิปรายสาระสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนผัง
                   พระนครสรุปได้เป็นสี่ประเด็น คือ (๑) ความจำเป็นในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมือง ทั้งสถิติ

                   และประวัติความเป็นมาของเมือง  โดยการสำรวจรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น (preliminary survey)
                   (๒) ความจำเป็นในการกำหนดรัฐประศาสโนบาย หรือรูปแบบการปกครองท้องถิ่น ว่าจะใช้ระบบ
                   เทศบาล (municipality) หรือไม่  (๓) ความจำเป็นในการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศมาวางแผน

                   ผังพระนคร และ (๔) คำอธิบายหลักแห่งการวางแผนผังพระนคร (town-planning)
                                                                                        ๒๘
                         สำหรับคำอธิบายหลักแห่งการวางแผนผังพระนครนั้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้หม่อมเจ้า

                   อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ไปร่างมานำเสนอ มีสาระสำคัญที่สะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจของชนชั้นนำ
                   สยามในครั้งนั้นต่อความจำเป็นและวิธีการวางผังเมือง สำหรับหลักของการวางผังเมืองนั้น หม่อมเจ้า
                   อิทธิเทพสรรค์ระบุว่าแบ่งออกได้เป็น ๕ ข้อ คือ


                         “๑) การกะที่อาศัยสำหรับพลเมือง และที่ทำมาหากิน
                          ๒) การจัดวิธีขนของใช้ในการบริโภคและการค้าขาย ทั้งขนเครื่องใช้ที่จะมาทำขึ้นเป็นสินค้า

                   และสินค้าที่ทำเสร็จแล้วออกไปจำหน่ายภายนอก
                         ๓) การขนโสโครกและสิ่งของที่เหลือใช้


                         ๔) การจัดการคมนาคมในร่วมพระนคร และระหว่างพระนครกับภายนอกให้รวดเร็วและสะดวก
                   ที่สุดที่จะทำได้
                         ๕) การจัดการศึกษา การพยาบาล และช่วยเหลือ และการพักผ่อนอิริยาบถให้พลเมืองได้ผล

                   ทั่วถึงกัน”
                         หลักทั้ง ๕ ข้อนี้ ถ้าจัดการวางแบบให้เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้รับผลสำคัญ ๓ ประการ คือ

                   ความอนามัย ความสุข และความประหยัดทรัพย์  การวางแบบคือการออกแบบบนกระดาษ
                   ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขได้ก่อนดำเนินการก่อสร้างจริง การวางแบบนั้นหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์เรียก




              28     สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44