Page 40 - kpiebook65062
P. 40
ว่า “การทำแผนผังพระนคร” (planning of a town) ซึ่งต้องกระทำควบคู่ไปกับการกำหนด
กฎหมายข้อบังคับ ตลอดจนงบประมาณสำหรับทำแผนผังนั้นให้เป็นจริง ซึ่งการกำหนดกฎหมายและ
งบประมาณนี้ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์เรียกว่า “การจัดระเบียบพระนคร” (town planning) ๒๙
เมื่อได้สรุปหลักการและความจำเป็นที่จะต้องกระทำ เพื่อเตรียมการวางแผนผังพระนครแล้ว
คณะกรรมการฯ ก็พบว่าการวางผังเมืองนั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอก และแนวรัฐประศาสโนบาย
อันเป็นเรื่องใหญ่พ้นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ไปมาก ในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จึงนำบันทึก
รายงานการประชุมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๗ เพื่อขอแนวพระราชดำริในการดำเนินงานต่อไป
และในวันรุ่งขึ้น รัชกาลที่ ๗ มีพระราชกระแสในเรื่องนี้ ความว่า
“การที่จะทำ town-planning จะต้องทำการสอบสวนอะไรใหญ่โต และตอบปัญหาที่ยังไม่มีใคร
ตอบได้ เพราะคาดการภายหน้าตั้ง ๒๐ ปีไม่ได้ ปัญหาเรื่อง municipality เปนต้องบอกว่าตอบไม่ได้
เพราะเรายังไม่พร้อมที่จะตอบ เรายังพิจารณาเรื่องตั้ง municipality นี้อยู่ และยังจะต้องทดลอง
ก่อนด้วย เพราะฉนั้นตอบไม่ได้ ถ้าจะต้องคาดการล่วงหน้าอย่างลึกซึ้งก็ถึงกับจะต้องคิดว่า ต่อไป
เมืองไทยเราจะมี parliament หรือไม่ จะได้คิดกะที่ไว้สำหรับสร้าง parliament! เมื่อจะต้องกะการ
ล่วงหน้ากันถึงเพียงนั้นแล้วก็น่าจะต้องเลิกคิดทำ town-planning เพราะเราไม่สามารถที่จะคาด
political development ของเราได้แน่นอน เพราะเมืองไทยเรายังไม่มี stable political fabric
หรือ political institution ที่แน่นอน ยังเปลี่ยนเร็วมาก จนแม้จะคาดการไป ๑๐ ปีข้างหน้าก็ทำไม่ได้
โดยมากพระนครที่เก่าๆ เขาก็ต้องรื้อสร้างใหม่กันหลายๆ ครั้ง London ถูกรื้อสร้างใหม่ไม่รู้ว่า
กี่ครั้ง เดี๋ยวนี้ก็ยังรื้อกันอยู่ จำต้องดัดแปลงของเก่าไปทีละเล็กละน้อย
กรรมการนี้ร้องว่ายังทำอะไรไม่ได้ ต้องรู้นั่นรู้นี่ ที่จริงถ้าหาผู้ชำนาญฝรั่งเข้ามาเสียชั่วคราว
อย่างหาผู้ชำนาญการทดน้ำ เห็นจะดีกว่าอย่างอื่น
ถ้าเรายังทำ town-planning ไม่ได้ ก็ขอให้ทำ planning-town กันบ้าง” ๓๐
พระราชกระแสดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า องค์พระประมุขทรงเล็งเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง
การปกครองกับการวางผังเมือง ตลอดจนความไม่พร้อมที่จะดำเนินการทั้งหลายตามระเบียบวิธีและ
หลักการที่คณะกรรมการวางแผนผังพระนครเสนอมา จากนั้นรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้นำบันทึก
รายงานการประชุมของคณะกรรมการฯ เข้าเสนอต่ออภิรัฐมนตรีสภาในโอกาสต่อไป ๓๑
29