Page 42 - kpiebook65062
P. 42

ของกรุงเทพพระมหานครขึ้นอีกมาก จะเป็นที่ชื่นชมยินดีแห่งประชาชนชาวสยาม และจะเป็น
                      เครื่องหมายสมัยด้วยอีกประการหนึ่ง และจะเป็นสิ่งที่เตือนใจพลเมืองให้ระลึกถึงพระบาทสมเด็จ
                      พระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นปฐมบรมกระษัตริยแห่งราชวงศจักรี” ๓๕


                            ยิ่งไปกว่านั้น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินยังทรงย้ำว่าสะพานพระพุทธยอด
                      ฟ้านี้จักมีประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งแก่การเดินทางไปมาระหว่างพระนครกับธนบุรี การเดินรถราง การ

                      ประปา การบำรุงการค้าขาย โดยที่ “ความสะดวกของการคมนาคมซึ่งได้จากสะพานนี้ จะทำให้เกิด
                      ความกระตือรือร้นในการ town planning แลสร้างถนนกับการเชื่อมโยงรถไฟโดยรอบ” ๓๖

                            ในวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ รัชกาลที่ ๗ มีพระบรมราชวินิจฉัยให้สร้างสะพานดังกล่าว

                      พร้อมกับพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ ในบริเวณที่ใกล้สะพานนั้น โดยที่จะพระราชทานพระราชทรัพย์สอง
                      ล้านบาทเป็นทุนประเดิมในการสร้างสะพาน และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชร

                                                                  ๓๗
                      อัครโยธิน เป็นผู้อำนวยการสร้างสะพานดังกล่าว  โดยที่พระเจ้าพี่ยาเธอพระองค์นั้นโปรดให้
                      กองแบบแผน กรมรถไฟหลวงร่างโครงการ (general plan) สำหรับสะพานขึ้น จากนั้นจึงเชิญบริษัท
                      รับเหมาออกแบบก่อสร้างสะพานจากประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และเดนมาร์กมาสำรวจ

                      พื้นที่ก่อสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เพื่อให้แต่ละบริษัทออกแบบรายละเอียดและเสนอราคา
                      ค่าก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ โดยที่โปรดให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อวินิจฉัยแบบและราคา

                      ค่าก่อสร้างของบริษัทเหล่านี้ โดยที่สุดท้ายได้ทรงเลือกแบบสะพานของบริษัทดอร์แมน ลอง (Dorman
                      Long Co. Ltd.) ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้เสนอแบบสะพานโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น
                      สามตอน แต่ละตอนวางบนตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก สะพานตอนกลางเปิดปิดได้ด้วยไฟฟ้า เพื่อให้

                      เรือสินค้าขนาดใหญ่เดินผ่านได้ ที่เชิงสะพานมีเสาสูง (pylon) ทั้งสองข้างแม่น้ำพื่อรับแรงถีบของน้ำหนัก
                      สะพาน รัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ ทรงวางศิลาพระฤกษ์สะพานวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ การก่อสร้าง

                      แล้วเสร็จวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ และมีพระราชพิธีเปิดสะพาน อันนับเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของ
                      พระราชพิธีฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี ในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ๓๘


                            การก่อสร้างสะพานที่สำคัญอีกสะพานหนึ่งในช่วงรัชสมัย คือสะพานกษัตริย์ศึก ซึ่งเป็นสะพาน
                      ข้ามทางรถไฟและคลองผดุงกรุงเกษมที่ตำบลยศเส กรมรถไฟหลวงออกแบบและก่อสร้างขึ้น เพื่อแยก
                      การสัญจรบนถนนบำรุงเมืองตอนนอก (ถนนพระรามที่ ๑) ให้ยกลอยข้ามเส้นทางรถไฟสายเหนือ เป็น

                                                         ๓๙
                      โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างทันสมัย  แล้วเสร็จและเปิดใช้งานในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒
                      โดยรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ ทรงตัดแถบแพรเปิดสะพาน ในวันที่ ๖ เมษายน ปีเดียวกัน ๔๐








                                                                                                             1
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47