Page 37 - kpiebook65062
P. 37

ในวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๓ เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ที่ตำบลศาลเจ้ากวางตุ้ง ต้นเพลิงอยู่ที่
                   ตึกที่ทำการโรงภาพยนตร์พัฒนากร ริมถนนเจริญกรุง อาคารและอุปกรณ์การฉายภาพยนตร์เสียหาย
                   เป็นมูลค่า ๓๑๕,๐๐๐ บาท และมีผู้เสียชีวิตถึง ๑๖ คน คือภรรยา มารดาภรรยา บุตร หลาน และ

                   คนรับใช้ของนายเทียม ตันติเวชกุล ผู้จัดการโรงภาพยนตร์ดังกล่าว เจ้าพนักงานสอบสวน
                   ได้ความว่าการที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากขนาดนี้เป็นเพราะอาคารเป็นตึกสามชั้น แต่มีบันไดขึ้นลงเพียง

                   ทางเดียว ไม่มีทางหนีไฟ  เมื่อความทราบเบื้องพระยุคลบาท รัชกาลที่ ๗ มีพระราชกระแส
                                          ๒๕
                   พระราชทานสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
                   ความว่า


                         “เพลิงไหม้คราวนี้ร้ายมากและจำต้องทำให้นึกว่าถึงเวลาที่จะต้องมีพระราชบัญญัติควบคุม

                   การก่อสร้างอย่างยิ่ง เช่นตึกนี้ไม่มีทางหนีไฟเลยเป็นต้น  อีกประการหนึ่งการเก็บฟิล์มหนังนั้นคล้ายเก็บ
                   วัตถุระเบิดหรือเชื้อเพลิงอย่างน้ำมัน ที่ต่างประเทศย่อมมีที่เก็บพิเศษกันไฟได้ ที่ให้เก็บตามบุญ
                   ตามกรรมอย่างนี้เป็นอันตรายมาก”


                         เพลิงไหม้โรงภาพยนตร์พัฒนากรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้น จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลออกพระราชบัญญัติ

                   ควบคุมการก่อสร้างในเขตต์เพลิงไหม้ที่บริเวณระวางถนนเจริญกรุง เยาวราช และปทุมคงคา
                   กับที่ตำบลถนนเยาวราช ตอนคลองศาลเจ้าใหม่ถม จังหวัดพระนคร พุทธศักราช ๒๔๗๕ อันนับว่า
                   เป็นก้าวแรกของการออกกฎหมายควบคุมอาคารในสยาม ที่แม้ว่าจะเป็นการออกข้อกำหนดควบคุม

                   อาคารเฉพาะพื้นที่เพลิงไหม้ แต่ก็นำไปสู่การตราและบังคับใช้พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติควบคุม
                   การก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ ในเวลาต่อมา ๒๖


                   เมืองและการวางผังเมือง



                         ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
                   มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสร้างโรงเรียนกฎหมายและสำนักงานเนติบัณฑิตยสภา
                   ขึ้นที่ถนนหน้าหับเผย หลังศาลหลักเมือง  โดยได้ให้นายชาลส์ เบเกอแลง (Charles Béguelin)

                   สถาปนิกชาวสวิสประจำกรมสาธารณสุขออกแบบร่างไว้เบื้องต้น ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน
                   (นับศักราชตามอย่างเก่า) สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวง

                   มหาดไทย มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสร้างทำการกรมอัยการขึ้น ในที่ดินแปลง
                   เดียวกับที่กระทรวงยุติธรรมคิดจะสร้างโรงเรียนกฎหมายและสำนักงานเนติบัณฑิตยสภานั้น โดยให้






               2     สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42