Page 22 - kpiebook65062
P. 22
บริบทของสถาปัตยกรรมไทย
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘ - พ.ศ. ๒๔๗๗) เป็นรัชสมัย
ที่สั้นที่สุด นับตั้งแต่เมื่อแรกสถาปนาพระราชวงศ์จักรี ทั้งยังเป็นรัชกาลที่ระบอบการปกครอง
แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สิ้นสุดลง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบใหม่ในปี
พ.ศ. ๒๔๗๕ ตลอดจนเป็นรัชสมัยที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดการ “ดุลยภาพ” เพื่อรักษา
เสถียรภาพทางการคลังของชาติ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในรายละเอียด รัชกาลที่ ๗ ก็เป็นช่วงเวลา
ที่สยามเข้าสู่สภาวะสมัยใหม่อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ อันเป็นผลจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก
ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาพระราชอาณาจักรสยามของรัชกาลก่อนหน้า ตั้งแต่รัชกาลพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชกาลพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏในพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่มีมา
อย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งสามรัชกาลดังกล่าวนั้น
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของสยามในช่วงรัชกาลที่ ๗ ระบบเศรษฐกิจไทยมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่ารัชกาล
ก่อน ๆ แม้สยามยังมิได้เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม (Industrialization) อย่างเต็มรูปแบบ
ทว่าอุตสาหกรรมการเกษตรของสยามก็มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก ทั้งการผลิตข้าว
ไม้สัก ยางพารา และดีบุก โดยที่ในช่วง พ.ศ. ๒๔๓๓ - ๒๔๗๒ มูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ทั้งสี่ชนิด
๑
ทวีขึ้นจาก ๔๗.๔ ล้านบาท เป็น ๑๐๓.๒ ล้านบาท (๒.๑๗ เท่า) การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมส่งผลให้
เมืองกรุงเทพฯ ทวีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ เกิดการสร้างโรงสี
11