Page 289 - kpiebook65057
P. 289

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ส่งผลต่อความตื่นตัวทางการเมืองของการเมือง
             ภาคพลเมือง ประชาชนที่ไม่พอใจได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อขับไล่
             รัฐบาลเผด็จการ นำมาสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิิรูปการเมือง มีการร่างรัฐธรรมนูญ

             ฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลต่อ
             กระแสการปฏิิรูปสังคมไทยเพื่อที่จะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เกิดการเติบโตขึ้น

             ของกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม NGO นักกิจกรรมทางการเมือง นักสิทธิมนุษยชน
             มีการจัดตั้ง ขบวนการสมัชชาเกษตรกรรายย่อย สมัชชาคนจน เพื่อที่จะเรียกร้อง
             ให้รัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ประชาชนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจ

             ทางการเมืองของตนเองมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยม และความต้องการ
             ที่จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมถึง

             ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการที่นายกรัฐมนตคีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


                     7. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540


                     รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เกิดจากกระแสปฏิิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์
             พฤษภาทมิฬ 2535 บรรยากาศของสังคมไทยก่อนหน้ามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

             2540 นับว่าประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองอย่างมาก หลังจากที่ผ่านเหตุการณ์
             พฤษภาทมิฬ กระแสการปฏิิรูปการเมืองเกิดขึ้นทั้งในกรุงเทพและทั่วทุกภูมิภาค

             ของประเทศไทยทำให้เกิดบรรยากาศการรณรงค์ให้รัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญ 2540
             มีการให้คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟื้ังความคิดเห็นและทำประชาพิจารณ์ประจำ
             จังหวัดที่มีประชาชนมากกว่า 800,000 คน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำ

             ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 นำไปสู่บรรยากาศที่เปิดโอกาสให้มีการรับฟื้ังความคิดเห็น
             ของประชาชนอย่างกว้างขวาง มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน

             76 คน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมกับตัวแทนนักวิชาการ
             อีก 23 คน ซึ่งมีความแตกต่างจากการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
             มาจากชนชั้นนำ และมักเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการทำรัฐประหาร (iLaw, 2562)










                                              234
   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294