Page 291 - kpiebook65057
P. 291
ขึ้นมาบังคับใช้แทน ภายหลังการทำรัฐประหารมีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวโดย
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
การทำรัฐประหาร ขึ้นชื่อว่าเป็นการรัฐประหารที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อหรือ
รายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ หากแต่ได้นำมาสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากการเมือง
ที่อำนาจเป็นของประชาชนมาสู่การเมืองที่อำนาจตกไปอยู่ในมือของชนชั้นนำและ
ข้าราชการ แม้ว่าคณะปฏิิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขหรือต่อมาเรียกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะให้เหตุผล
ของการทำรัฐประหารว่ามาจากการปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน การใช้อำนาจ
ในทางมิชอบ การแทรกแซงองค์กรอิสระ รวมถึงความขัดแย้งและการบ่อนทำลาย
ความสามัคคีของประชาชน อย่างไรก็ตามสาเหตุที่แท้จริงของการทำรัฐประหาร
เกิดจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจเก่ากับกลุ่มอำนาจใหม่ ทำให้เกิด
การจัดสรรผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว รวมถึงความขัดแย้งของฝ่�ายรัฐบาลกับ
ฝ่�ายข้าราชการการเมืองบางกลุ่ม ส่งผลให้กองทัพเข้ายึดอำนาจและเกิด
การรัฐประหาร ในเวลาต่อมามีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ผลของการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่วังวน
ของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมาจนถึงปัจจุบัน การเมืองภาคพลเมือง
เกิดการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน ได้แก่ กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลพลเรือน
ที่มาจากการเลือกตั้งและกลุ่มที่สนับสนุนการรัฐประหารของกองทัพ ในที่สุดผล
ของการรัฐประหารนำมาสู่การเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อแย่งชิงมวลชนระหว่าง
ทั้งสองกลุ่ม การเมืองภาคพลเมืองในช่วงเวลานั้นมีการชุมนุมประท้วงคัดค้าน
การรัฐประหาร โดยกลุ่มนิสิตนักศึกษา ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ
เป็นจำนวนมาก รวมถึงกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่นายนวมทอง ไพรวัลย์ ผู้ขับรถแท็กซี่
ขับรถพุ่งชนรถถังบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อต่อต้านการทำรัฐประหาร
นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวกันของภาคประชาชนอีกหลายครั้งขับไล่ พลเอก สนธิ
บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. มีการเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และเรียกร้อง
ให้มีการจัดการเลือกตั้ง
236