Page 286 - kpiebook65057
P. 286
รับฟื้ังความคิดเห็นหรือให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมส่งผลกระทบต่อประชาชน
ทั้งผลกระทบที่เป็นด้านบวกและผลกระทบในด้านลบ
การเมืองภาคพลเมืองในยุคนี้มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่มีเป้าหมาย
ที่ชัดเจน มีการรวมตัวของมวลชนที่เป็นรูปธรรมสามารถมองเห็นได้ เช่น การจัดตั้ง
สหพันธ์นิสิตนักศึกษา การรวมกลุ่มกันของกลุ่มเกษตรกร ชาวนา ขบวนการแรงงาน
นับว่าเป็นยุคที่เกิดความตื่นตัวทางการเมืองและเป็นยุคที่ระบอบประชาธิปไตย
เบ่งบาน และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ประชาชนสามารถโค่นล้ม
ระบอบเผด็จการและนำมาสู่การเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ
5. เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
หลังจากที่แกนนำรัฐบาล จอมพล ถนอม จอมพล ประภาส และพันเอก
ณรงค์ ลี้ภัยออกไปนอกประเทศในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 สองปีหลังจากนั้นเริ่ม
มีสัญญาณว่าทหารกลุ่มเดิมวางแผนกลับสู่อำนาจอีกครั้ง วันที่ 16 สิงหาคม 2519
จอมพลประภาสเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย แต่เนื่องจากมวลชนประท้วง
จึงยอมเดินทางออกจากประเทศในวันที่ 22 สิงหาคม ต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2519
จอมพลถนอมหาทางกลับเข้ามาในประเทศไทย (ประชาชาติออนไลน์, 2563)
การกลับเข้าประเทศของ จอมพล ประภาส กับจอมพล ถนอม เป็นสาเหตุ
ที่ทำให้เกิดความไม่พอใจของประชาชน มีการจัดกิจกรรมทางการเมืองและการชุมนุม
บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพื่อ
แสดงความไม่พอใจและเรียกร้องให้มีการลงโทษผู้กระทำผิด ต่อมามีการยกระดับ
การชุมนุมทำให้เหตุการณ์เริ่มตึงเครียด โดยเฉพาะการแสดงละครล้อการเมือง
สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนี้เกิดความพยายามในการสร้างความเกลียดชัง
โดยใช้วิธีการและรูปแบบต่าง ๆ เกิดการสร้างชุดข้อมูลที่บิดเบือนข้อเท็จจริงด้วย
กระบวนการปลุกปั�น การใช้โฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เพื่อให้คนเกลียดชัง
231