Page 282 - kpiebook65057
P. 282
แนวคิดทางการเมืองและการต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมของขบวนการกรรมกร
ชาวนา ชาวไร่ นิสิตนักศึกษา และปัญญาชนไทย โดยคนเหล่านี้ตัดสินใจเข้าร่วม
ในขบวนการคอมมิวนิสต์ มีการตั้งกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่าง
กรรมกรด้วยกัน และการเข้าร่วมในการเดินขบวนปราศรัยเพื่อเรียกร้องความธรรม
ทำให้เกิดความตระหนักในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชนมากขึ้น
จากเดิมที่ประชาชนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
คุ้นชินกับการอุปถัมภ์ของระบบเจ้าขุนมูลนาย ก็เริ่มที่จะตั้งคำถามถึงสภาพสังคม
การเมือง เศรษฐกิจที่มีปัญหามากขึ้น
4. เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของประชาชน
กว่าห้าแสนคนเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการ จอมพล ถนอม กิิตติขจร สาเหตุของ
การชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาลเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ การสั่งสมความไม่พอใจ
ต่อการเมืองการปกครองไทยที่อยู่ใต้การปกครองแบบเผด็จการที่การเมืองอยู่ภายใต้
วงจรการรัฐประหารและฉีกรัฐธรรมนูญหลายครั้ง (ประชาชาติออนไลน์, 2563) ทำให้
กลไกของรัฐสภาไม่สามารถบังคับใช้ได้ นอกจากนี้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญก็ใช้
เวลานานเกือบ 10 ปี (พ.ศ. 2502-2511) มีการรวมศูนย์อำนาจทางการเมือง การกดขี่
ขูดรีดชนชั้นแรงงาน การใช้กฎหมายปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม ป�าเถื่อน
รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกหลายครั้ง นอกจากนี้รัฐบาลยังคุกคามเสรีภาพ
ในการนำเสนอข่าวของสื่อ ทำการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน
เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันภายในรัฐบาล และปัญหาอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
ภายใต้การปกครองเผด็จการ กรรมกรได้ถูกกดขี่ขูดรีดอย่างหนัก เนื่องจาก
นโยบายมุ่งส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลตั้งแต่สมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มุ่ง
จะสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีสำหรับนักลงทุนต่างชาติ จึงมุ่งที่จะกดค่าจ้าง
แรงงานของกรรมกรให้ต่ำ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ยกเลิกกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ใช้กฎอัยการศึกห้ามการนัดหยุดงานของกรรมกรอย่างเด็ดขาด หากมีการคำสั่ง
227