Page 279 - kpiebook65057
P. 279

ต่อมาหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจมาจากจอมพลป. เมื่อ พ.ศ. 2500
             และรัฐประหารตัวเองเมื่อ พ.ศ. 2501 (กฤษณะ โสภี. 2564) มีการกวาดล้างฝ่�ายตรง
             ข้ามอย่างรุนแรง ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นมาบริหารประเทศได้ประกาศ

             ห้ามตั้งพรรคการเมือง มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ และห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน
             พร้อมกวาดล้างผู้ที่ขัดแย้งกับรัฐบาล การออกมาวิพากษ์วิจารณ์หรือขัดแย้งกับรัฐ

             จะถูกตอบโต้ด้วยการกวาดล้างอย่างโหดเหี้ยม (กฤษณะ โสภี, 2564)


                     ในยุคนี้มีการออกมาตรา 17 ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
             พ.ศ. 2502 รัฐบาลใช้มาตรา 17 เป็นเครื่องมือในการกำจัดผู้ที่ขัดแย้งกับรัฐบาล รวมถึง

             ผู้ที่หันไปสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำเนิน
             นโยบายปราบปรามฝ่�ายตรงข้ามด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์ทันทีที่ขึ้นมามีอำนาจ
             มีผู้ที่ถูกจับกุมในข้อหาต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์มีมากกว่า 40 คน ในบรรดา

             ผู้ถูกจับกุมในครั้งนั้น มีทั้ง นักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ กรรมกร และครูซึ่งส่วนใหญ่
             อยู่ในแถบภาคอีสาน ด้วยข้อครหาที่ว่าผู้ต้องสงสัยเหล่านี้วางแผนจะแทรกซึม

             โรงเรียนโดยการโฆษณาชวนเชื่อให้หันมานิยมในลัทธิคอมมิวนิสต์ การปราบปราม
             คอมมิวนิสต์ในสมัยจอมพลสฤษดิ์นั้นจึงมีอยู่เป็นจำนวนมาก (กฤษณะ โสภี, 2564)


                     ตัวอย่างเหตุการณ์ที่มีการใช้อำนาจตามมาตร 17  ในการปราบปรามหนึ่ง
                                                               7
             เหตการณ์ที่สำคัญ คือคดีของครูครอง จันดาวงค์ โดยครูครองและเพื่อนร่วมกัน
             จัดตั้งสมาคมลับที่ชื่อ “สามัคคีธรรม” เพื่อทำการต่อต้านอำนาจเผด็จการ และ





             7 สาระสำคัญของมาตรานี้มีการบัญญัติไว้ว่า “ในระหว่างที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายก
             รัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อน
             ทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย
             ก่อกวน หรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายก
             รัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใดได้และให้ถือว่าคำสั่งหรือ

             การกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการ
             หรือกระทำการใดออกไปตามความในวรรคก่อนแล้วให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภาทราบ”




                                              224
   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284