Page 275 - kpiebook65057
P. 275

ประชาธิปไตย ตลอดจนเป็นยุคแสวงหาประชาธิปไตยของปัญญาชนที่เป็นชนชั้นนำ
             ที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากประเทศตะวันตก ที่ต้องการจะทำให้ประเทศ
             มีความทันสมัยและมีกลไกทางการเมืองที่ตอบสนองต่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ

             และเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น


                     การนำระบอบประชาธิปไตยมาใช้แม้จะทำให้มีการพัฒนากลไกทางการเมือง
             ให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามในระยะแรกของยุคแสวงหาประชาธิปไตย การเมืองภาค

             พลเมืองในเวลานั้นยังไม่ได้แพร่หลายและเป็นที่รับรู้ของราษฎรมากนัก เพราะอำนาจ
             ทางการเมืองและอำนาจทางเศรษฐกิจยังถูกจำกัดไว้เพียงชนชั้นนำบางกลุ่ม ระบอบ

             ประชาธิปไตยที่เพิ่งเริ่มก่อตัวขึ้นทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่เข้าใจหลักการของ
             ประชาธิปไตย ตลอดจนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย รัฐธรรมนูญ
             ระบบรัฐสภา ประชาชนยังคงมีฐานะเป็นเพียงราษฎร ยังไม่สามารถเข้าไปมีบทบาท

             ทางการเมืองได้มากนัก การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดขึ้นไม่มากเนื่องจากยังอยู่
             ภายใต้ระบบการปกครองแบบอุปถัมภ์ ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมเพียงการเลือก

             ตั้งเป็นส่วนใหญ่ หลังการอภิวัฒน์สยามประชาชนถูกแยกออกจากรัฐ การเมืองหลัง
             การเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกจำกัดไว้เฉพาะกลุ่มชนชั้นนำ ราษฎรยังคง
             ถูกครอบงำด้วยระบอบอำมาตยาธิปไตย



                     2. เหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2490


                     รัฐประหาร พ.ศ. 2490 เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มทหารและ
             กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม จากความร่วมมือระหว่างกลุ่มทหารบกผู้สนับสนุน จอมพล

             ป. พิบูลสงคราม นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และกลุ่มอนุรักษนิยมในการช่วงชิง
             อำนาจทางการเมืองมาจากคณะราษฎร การรัฐประหารครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ
             การเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับพระมหากษัตริย์ภายหลังการปฏิิวัติในปี 2475

             มีผลทำให้ทหารมีบทบาทสำคัญทางการเมืองและทำให้เกิดการขัดขวางการพัฒนา
             ประชาธิปไตยที่เริ่มมาได้ไม่นาน นอกจากนี้ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางการเมือง








                                              220
   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280