Page 276 - kpiebook65057
P. 276

ไทยเนื่องจากทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนสถานภาพการเมืองจากการมีทหารขึ้นมา
               ปกครอง และนำไปสู่การยุติบทบาทของคณะราษฎรรวมถึงพลังประชาธิปไตยที่กำลัง
               เติบโต (ลิขิต ธีรเวคิน, 2554)



                        ในช่วงเวลาก่อนการรัฐประหาร กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม และพรรค
               ประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นปรปักษ์ทางการเมืองได้ดำเนินการกล่าวหาโจมตีรัฐบาลของปรีดี
               และรัฐบาลของ พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เหตุผลที่คณะรัฐประหารนำมาอ้าง

               ได้แก่ ความเดือดร้อนของประชาชนจากการขาดแคลนข้าวบริโภค การที่รัฐบาลไม่
               สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การบริหารงานของรัฐบาล

               ที่ไม่มีประสิทธิภาพ การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเป็นคอมมิวนิสต์ การไม่สามารถ
               คลี่คลายการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และข้อกล่าวหา
               ที่กล่าวหาว่านายปรีดีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคต (The standard, 2564)



                        การรัฐประหารที่เริ่มขึ้นตั้งแต่คืนวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 จนสำเร็จ
               เสร็จสิ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นั้นคณะรัฐประหารได้ส่งกำลังทหารพร้อม
               ด้วยพันเอก เผ่า ศรียานนท์ นำรถถังบุกไปที่ทำเนียบท่าช้างเพื่อจับกุมตัว นายปรีดี

               พนมยงค์ แต่การจับกุมไม่เป็นผลเนื่องจาก นายปรีดี พนมยงค์ ได้ลงเรือหลบหนีไป
               ได้ก่อน (สถาบันปรีดี พนมยงค์, 2564) การรัฐประหารในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุด

               ของคณะราษฎร “คณะรัฐประหาร” ได้ยึดอำนาจปกครองประเทศไทย โดยล้มระบอบ
               ประชาธิปไตยแห่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 พ.ศ. 2489 ที่ได้บัญญัติไว้โดยถูกต้องตามวิธี
               การของรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ

               ได้พระราชทานและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2490 (ฉบับชั่วคราว) หรือ “รัฐธรรมนูญ
               ฉบับใต้ตุ่ม” ซึ่งได้บัญญัติให้มีวุฒิสภาที่สมาชิกได้รับการแต่งตั้ง มิใช่ด้วยการเลือกตั้ง

               จากราษฎรจึงเป็นการดึงให้ประเทศไทยเดินถอยหลังเข้าคลองไปสู่ประชาธิปไตย
               ที่ไม่สมบูรณ์ มีการให้อำนาจแก่พระมหากษัตริย์มากขึ้น และมีการฟื้้�นฟืู้“อภิรัฐมนตรี”
               องค์กรตามระบอบเก่าให้กลับมาอีกครั้งภายหลังการปฏิิวัติ 2475 ระบบของ

               คณะรัฐประหารนั้นเป็นแม่บทให้แก่รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 และเป็นแม่บทให้แก่







                                                 221
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281