Page 277 - kpiebook65057
P. 277

ระบบปกครองต่อๆ มาอีกหลายระบบ (สถาบันปรีดี พนมยงค์, 2564) นอกจากนี้
             การรัฐประหารส่งผลให้กลุ่มนายปรีดีหมดอำนาจ กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและ
             กลุ่มทหารกลับมามีอำนาจ บทบาทและอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรหมดลง

             นายปรีดี และ พล.ร.ต. ถวัลย์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ


                     จุดเริ่มต้นของการรัฐประหาร เกิดขึ้นหลังมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
             นายควง อภัยวงค์ ที่ต้องการเอาใจ “คณะรัฐประหาร” เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับ

             รัฐบาลของตน จึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองความสงบสุข พ.ศ.2490
             ที่ให้อำนาจทหารเข้าปราบปราม จับกุมฝ่�ายต่อต้านรัฐบาลหรือกลุ่มนายปรีดี

             ซึ่งนำไปสู่การจับกุมบุคคลสำคัญในรัฐบาลและรัฐสภาในชุดก่อนการรัฐประหาร
             จำนวนมาก การรัฐประหารที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม
             และ “คณะรัฐประหาร” ทำให้อำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรได้เริ่มเสื่อมคลายลง

             นอกจากเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้เพิ่มอำนาจพระมหากษัตริย์มากขึ้น
             และมีการรื้อฟื้้�นองค์กรในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกลับมาอีกครั้ง นอกจากนี้

             คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนายควงที่ตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารประกอบขึ้น
             จากพระราชวงศ์และขุนนางเก่ามาอย่างไม่เคยปรากฏิมาก่อนหลังการปฏิิวัติ 2475
             (ณัฐพล ใจจริง, มปป.)



                     3. การเติบโตของลัทธิคอมมิวนิสต์การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
             ประเทศไทย


                     พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นพรรคที่ยึดมั่นในลัทธิมาร์กซ์ เลนิน

             และความคิดเหมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสมอภาคทางชนชั้น พรรค
             คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 โดย
             มีนายพิชิต ณ สุโขทัย (พายัพ อังคะสิงห์) เป็นเลขาธิการพรรค













                                              222
   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282