Page 281 - kpiebook65057
P. 281

ทางการเมืองไทยอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการจับป้นขึ้นต่อสู้เพื่อชิงอำนาจรัฐอยู่หลาย
             ปี อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมกับพรรคของนักศึกษา ชาวนา กรรมกรเกิดขึ้นได้ไม่นาน
             เมื่อเหตุการณ์ภายในและภายนอกประเทศคลี่คลายไปในทางไม่เอื้อต่อการดำรงอยู่

             ของพรรค อาทิ หลังจากที่รัฐทำการปราบปรามนักศึกษาในวันที่ 6 ตุลา 2519
             สังคมได้เข้าสู่ยุคเผด็จการขวาสุดโต่งภายใต้การบริหารประเทศของ นายธานินทร์

             กรัยวิเชียร มีการใช้กฎหมายปราบปรามอย่างรุนแรงและกฎหมายห้ามกระทำการ
             อันเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ถูกกำจัดไปจนหมดสิ้นในประเทศไทย
             ภายหลังการสิ้นสุดลงของรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และแทนที่ด้วยรัฐบาล

             ภายใต้การบริหารของนายเกรียงศักดิ์ ชะมะนันท์ และรัฐบาล พลเอก เปรม
             ติณสูลานนท์ ที่ดำเนินนโยบายปรองดองภายในชาติ และนโยบาย “การเมือง

             นำการทหาร” การดำเนินนโยบาย 66/23 ทำให้ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์
             ถอนตัวกลับสู่เมือง


                     ในส่วนของเหตุการณ์ภายนอก พรรคคอมมิวนิสต์จีนขัดแย้งกับพรรค

             คอมมิวนิสต์เวียดนาม ทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรคคอมมิวนิสต์ และ
             เป็นปัญหาในการขอความช่วยเหลือจากลาวและเขมร ซึ่งถูกควบคุมโดยพรรค
             คอมมิวนิสต์เวียดนาม ในขณะที่จีนต้องการที่จะรักษาความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทย

             ด้วยการปฏิิเสธการให้ความช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แม้ว่าก่อน
             หน้านี้จีนจะอยู่เบื้องหลังการสนับสนุนพรรคมาก่อน ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ไทย

             อ่อนกำลังลงและยุติบทบาทการสู้รบกับรัฐบาลไทยในที่สุด (นิยม รัฐอมฤต, มปป)


                     โดยสรุปการเติบโตของพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงที่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์
             กำลังแพร่หลายในภูมิภาคอินโดจีน ส่งผลให้คนจำนวนมากรู้จึกแนวคิดมาร์กซ์ และ

             สนใจอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ รวมถึงในเวลานั้นปัญหาที่ชนชั้นแรงงาน ชาวนา
             ชาวไร่ถูกเอาเปรียบจากรัฐและนายจ้าง จึงมีการออกมาเรียกร้องการขึ้นค่าแรง
             และนโยบายที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงการส่งเสริมสวัสดิการแรงงาน

             แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ส่งเสริม
             ความเท่าเทียมทางชนชั้นเพื่อลดทอนการกดขี่ขูดรีดแรงงานจึงมีอิทธิพลต่อ





                                              226
   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286