Page 285 - kpiebook65057
P. 285
เข้ามามีส่วนร่วมในการทางการเมืองมากขึ้น ผลที่ตามมาคือเกิดการเปลี่ยนผ่านสังคม
ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย เกิดยุคทดลงประชาธิปไตย ซึ่งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ทางการเมือง มีการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง การส่งเสริมสิทธิทางการมืองและ
เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ทำให้ประชาชนมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ในทางกลับกันอำนาจ
ทางการเมืองของฝ่�ายชนชั้นนำลดลง
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา กรรมกรจำนวนมากได้รวมตัวกันนัดหยุดงาน
หลายครั้งนับตั้งแต่ พ.ศ. 2516-2519 โดยเหตุการณ์นัดหยุดงานที่สำคัญ คือ
การหยุดงานของกรรมกรหญิงโรงงานฮารา ตรอกวัดไผ่เงิน วันที่ 9 ตุลาคม 2518
เพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงและปรับปรุงสวัสดิการ การนัดหยุดงานครั้งนี้ กลายเป็น
การต่อสู้ที่ยืดเยื้อที่สุด เพราะฝ่�ายนายจ้างไม่ยอมเจรจาและยังมีคำสั่งไล่คนงาน
ที่ประท้วงออกจากงาน การประท้วงดำเนินไปจนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2518 กรรมกร
ได้ยึดโรงงานและทำการผลิตสินค้าออกมาขายโดยใช้วัตถุดิบที่เหลืออยู่ และตั้งชื่อ
โรงงานว่า “สามัคคีกรรมกร” (บันทึก 6 ตุลา, มปป)
ผลกระทบของการประท้วงเดินขบวนในช่วงปี 2516 ที่นิสิตนักศึกษา
ภาคประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ในการที่จะควบคุมการทำงานของรัฐมากขึ้น
คนชั้นกลางเข้ามามีบทบาทในการประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาลเพราะไม่พอใจการใช้
อำนาจทางการเมืองเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มอภิสิทธิ์ทางธุรกิจ การชุมนุม
ประท้วงจึงเกิดขึ้นเพื่อต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ในยุคนี้มีการเปิดพื้นที่ทางการ
เมืองให้คนกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น แต่ผู้ที่เข้าสู่การเมืองมิใช่ผู้ที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง
เพื่อคนส่วนมากแต่เป็นการมีส่วนร่วมเพื่อตนเองและพวกพ้องมากกว่าในยุคนี้การ
มีส่วนร่วมมักนำไปสู่ความรุนแรงหลายครั้ง ผู้ที่รวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ
และต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ถูกมองว่าเป็นผู้ขัดขวางการพัฒนาประเทศและเป็นศัตรู
ของรัฐ นอกจากนี้บริบททางการเมืองในช่วงนี้เป็นช่วงที่สื่อมวลชนถูจำกัดเสรีภาพ
ในการนำเสนอข่าวและข้อเท็จจริงทางการเมือง ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึง
ข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริง รวมถึงไม่สามารถรับรู้การตัดสินใจดำเนินนโยบายต่าง ๆ
ของรัฐ รัฐสามารถตัดสินใจดำเนินนโยบายหรือโครงการขนาดใหญ่โดยไม่ได้
230