Page 287 - kpiebook65057
P. 287

วันที่ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 กลุ่มกึ่งทหาร ได้แก่ ลูกเสือชาวบ้านและกระทิงแดง
             จำนวนหนึ่งบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยพร้อมกับตำรวจเพื่อเข้าทำร้ายนักศึกษา
             มีการปราบปราม ของตำรวจ ทหารต่อนักศึกษาและผู้ประท้วงอย่างรุนแรง ทั้งการยิงป้น

             ใส่ผู้ชุมนุม การรุมทำร้าย การเผาศพผู้เสียชีวิต ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต
             จำนวนมาก อีกทั้งยังมีผู้ชุมนุมหลายพันคนถูกจับกุม เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

             จึงเป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง
             ของการเมืองไทย


                     หลังการปราบปราม พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ คณะปฏิิรูปการปกครองแผ่นดิน

             เข้ายึดอำนาจ และแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลภายใต้
             นายธานินทร์มีนโยบายในการปราบปรามฝ่�ายซ้ายอย่างรุนแรง ส่งผลให้ขบวนการ
             กรรมกรชาวนาชาวไร่ถูกทำลายอย่างหนัก บางส่วนต้องหลบหนีเข้าป�าและเข้าไป

             เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  ส่งผลให้พรรคคอมมิวนิสต์ได้
             สมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก มีการปราบปรามนักสื่อสารมวลชน นักเคลื่อนไหว

             นักกิจกรรมทางการเมือง การสั่งจำคุกคนที่ออกมาเปิดเผยข้อมูล จำกัดการรายงาน
             ข่าวของสื่อ ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง โดยรัฐบาลได้สั่ง
             ปิดสื่อห้ามเผยแพร่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม มีการจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เป็นภัย

             ต่อสังคม เป็นต้น


                     หลังเหตุการณ์นี้ส่งผลให้กระแสของคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
             ถูกทำลายลง  มีการทำลายแนวร่วมระหว่างนักศึกษากรรมกรและชาวนา

             การที่จะประชาชนจะออกมาเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายนโยบายเพื่อเพิ่ม
             สวัสดิการให้กับกรรมกรชาวนาเป็นไปอย่างยากลำบาก แตกต่างจากยุค 14 ตุลา

             ที่ขบวนการแรงงานมีความเข้มแข็งมาก ในทางกลับกันรัฐออกกฎหมายห้ามนัดหยุด
             งานเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะมีการยกเลิก รวมถึงมีการออกกฎกระทรวงจำกัด
             สิทธิการนัดหยุดงานของกิจการบางประเภท เช่น รัฐวิสาหกิจ กิจการขนส่งกิจการ

             จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (วิกิพีเดีย, 2564) เหตุการณ์ในครั้งนี้นับเป็นการสิ้นสุด
             ของการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ส่งผลให้การเมืองภาคพลเมือง





                                              232
   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292