Page 292 - kpiebook65057
P. 292
ผลของการทำรัฐประหาร ทำให้รัฐเข้ามากำกับดูแลสังคมมากขึ้นเพื่อ
ให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย มีการประกาศใช้คำสั่งหรือประกาศสกัดยับยั้ง
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบคอมพิวเตอร์ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ
มีการควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงรายการโทรทัศน์เป็น
จำนวนมาก มีการสั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป มีการจับกุมผู้ต่อต้าน
คณะรัฐประหาร (วิกิพีเดีย, 2564) ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของการเมืองภาคพลเมือง
เป็นการชุมนุมประท้วงของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
หรือมวลชนคนเสื้อแดงที่มีการชุมนุมในช่วง พ.ศ. 2553-2554 มีเป้าหมายเรียกร้อง
ให้รัฐบาลประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ต่อมารัฐบาลใช้มาตรการ
ทางทหารเข้ากดดันกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. มีการใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมชนบริเวณ
แยกราชประสงค์เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 คนและมีผู้บาด
เจ็บมากกว่า 2,100 คน จนกระทั่ง แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุมในวันที่
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (วิกิพีเดีย, 2564)
แม้ว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นการเลือก
ตั้งครั้งแรกในรอบ 5 ปีนับตั้งแต่การทำรัฐประหาร และได้มาซึ่งการมีรัฐบาลพลเรือน
อีกครั้ง หากแต่การเมืองยังคงไร้เสถียรภาพ และยังมีความขัดแย้งระหว่างมวลชน
สองฝ่�ายมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การบริหารของ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร วิกฤตการณ์ทางการเมืองยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อมา
มีการจัดตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิิรูปประเทศไทยให้เป็น
ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. ขึ้น
วัตถุประสงค์เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์
และการกดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากหัวหน้ารัฐบาล ความขัดแย้งทางการเมือง
กลายเป็นสาเหตุของการทำรัฐประหารของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นหัวหน้าคณะได้ทำการรัฐประหาร เมื่อวันที่
16 มิถุนายน 2557 นำไปสู่การยุติการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. และการฟื้้�นคืนอำนาจ
ทางการเมืองให้กับชนชั้นนำเดิมในที่สุด
237