Page 297 - kpiebook65057
P. 297
ในเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างฝ่�ายที่สนับสนุนสหรัฐอเมริกากับฝ่�ายที่
สนับสนุนสหภาพโซเวียต
เหตุการณ์ที่เวียดนามยกกำลังทหารเข้าไปในกัมพูชา ในปี ค.ศ. 1978
และสามารถยึดครองกัมพูชาจนถึงปี ค.ศ. 1989 ทำให้เวียดนามสามารถเข้าไป
แทรกแซงการเมืองในกัมพูชา และต้องการที่จะเป็นฝ่�ายครองอำนาจนำเหนือ
ในภูมิภาคอินโดจีน และต้องการต่อต้านรัฐบาลประชาธิปไตยหรือเขมรแดง
ซึ่งมีสาธารณรัฐประชาชนจีนสนับสนุนในขณะนั้น
เวียดนามมีเป้าหมายในการขยายฐานคิดและอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์
ให้แพร่หลายและต้องการทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ มีการปะทะ
ตามแนวชายแดนที่รุนแรง โดยเฉพาะบริเวณชายแดนกัมพูชาและลาว ผลของการใช้
กำลังทหารจู่โจมเข้าไปยังประเทศลาวและกัมพูชาของเวียดนามทำให้ความสัมพันธ์
ระหว่างจีนและชาติสมาชิกของอาเซียนมีความแน่นแฟื้้นมากขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์
ระหว่างจีนกับไทย โดยไทยได้ให้ที่พักพิงกับขบวนการต่อต้านรัฐบาลเวียดนาม
นอกจากนี้ผลของการทำสงครามเวียดนาม ยังส่งผลต่อความมั่นคง
ของไทยนั่นคือการอพยพของชาวเวียดนาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 หลังจากที่ฝ่รั่งเศส
ได้กลับเข้ามาครอบครองอินโดจีนอีกครั้งและได้ทำการปราบปรามชาวญวนและชาว
ลาว ที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรลาวอย่างรุนแรง ทำให้ชาวญวน หลายหมื่นคน
ต้องอพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งในเวลานั้นไทยมีแนวคิดรวบยอด
ว่าคอมมิวนิสต์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศในด้านต่างๆ โดยแนวคิดของ
รัฐบาลไทย มองว่าสหภาพโซเวียตจีนและเวียดนามเหนือ คือ กลุ่มเดียวกันและ
มีความพยายามที่จะทำให้เอเชียกลายเป็นคอมมิวนิสต์ (ปทุมพร วัชรเสถียร, มปป)
ในเวลาต่อมาเหตุการณ์ที่เวียดนามชนะสงครามทำให้ เขมรและลาวกลาย
เป็นคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยับเข้ามาใกล้พรมแดนของไทยมากขึ้น
ความเกรงกลัวต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ของชนชั้นปกครองภายในประเทศ เริ่มมี
242