Page 300 - kpiebook65057
P. 300
เน้นการผลิตให้กับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อพัฒนาแสนยานุภาพ
ของกองทัพ (hard power) นโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ยืดหยุ่นและการปกครอง
แบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จนำไปสู่การทำลายการแข่งขันของเอกชน ซึ่งเป็นหัวใจ
ของระบบทุนนิยม การแข่งขัน ที่ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิด
ปัญหาตามมา เมื่อสหภาพโซเวียตแพ้ในสงครามเย็น จึงส่งผลให้เกิดทั้งปัญหา
ทางด้านการทหารและปัญหาทางเศรษฐกิจ (อัณณา จันดี, 2563)
ผลกระทบจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่มีต่อไทย พบว่า
ตลอดหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สะท้อนถึง
การสร้างพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา อาทิ การอนุญาตให้กองทัพสหรัฐเข้ามาใช้
ฐานทัพในประเทศเพื่อโจมตีเวียดนาม โดยสหรัฐได้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน
ในการพัฒนากองทัพและการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใน แต่หลังจากสหภาพโซเวียต
ล่มสลาย สหรัฐกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งทำให้มีการตัดสินใจ
ลดบทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนิน
นโยบายต่างประเทศของไทย (กุลนันท์ คันธิก, 2562)
ก่อนจะสิ้นสุดสงครามเย็น พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ ประกาศแนวทางหลัก
ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ คือ การเปลี่ยนอินโดจีนจากสนามรบเป็นสนาม
การค้า และการวางยุทธศาสตร์ในการยกระดับประเทศให้มีสถานะเป็นศูนย์กลาง
ทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Buszynski, 1989, อ้างใน
กุลนันท์ คันธิก, 2562) ผลของปัจจัยการเมืองระหว่างประเทศจากภายนอกและ
นโยบายเศรษฐกิจภายในทำให้ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง
ก้าวกระโดด GDP เติบโตขึ้นร้อยละ 7.6 ต่อปี ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
ในปี 2540 การเติบโตของขบวนการภาคประชาชนเติบโตขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน
ผลกระทบของการพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐที่ต้องการเปลี่ยนสนามรบ
เป็นสนามการค้าและมีโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมกระจายไป
ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ อย่างไรก็ตามการพัฒนาเศรษฐกิจและความพยายาม
ที่จะก้าวขึ้นไปเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชีย ยังไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากปัญหา
245