Page 301 - kpiebook65057
P. 301
การบริหารจัดการภายในประเทศที่ยังมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ การขาด
ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นกลไกรองรับการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ
และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองที่ส่งผลให้
กลไกของการบริหารงานในท้องถิ่นขาดการสนับสนุนและเสริมพลังจนทำให้ไม่
สามารถที่จะพัฒนานวัตกรรม เครือข่ายและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนเพื่อพัฒนา
เศรษฐกิจในระดับมหภาคอย่างเต็มที่
แม้ว่าปัจจัยภายนอกจะมีผลต่อการกำหนดนโยบายภายทั้งนโยบายทาง
เศรษฐกิจและนโยบายต่างประเทศของไทย แต่ปัจจัยภายในกลับเป็นส่วนสำคัญ
ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในเชิง
โครงสร้าง อาทิ การกำหนดนโยบายของภาครัฐ การบริหารราชการแผ่นดิน การ
บังคับใช้กฎหมาย และปัจจัยในเชิงขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง อาทิ ความ
เข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมืองที่ออกมาเคลื่อนไหวและเป็นพลังสำคัญในการ
เปลี่ยนแปลงทางการเมือง การส่งเสริมและขับเคลื่อนแนวคิดแบบประชาธิปไตย ซึ่ง
แนวคิดแบบประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางสังคม การลด
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การกระจายทรัพยากรและอำนาจ ที่ได้รับอิทธิพลมา
จากแนวคิดสังคมนิยมจากชาติตะวันตกทั้งสหภาพโซเวียตและชาติในเอเชียคือจีน ยัง
คงเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดของคนในสังคมมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุดมการณ์ที่
ประชาชนจำนวนมากในสังคมร่วมกันในการต่อสู้เรียกร้องนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลง
การปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน
246