Page 303 - kpiebook65057
P. 303
บทนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น
8 ส่วน ได้แก่ 1) มโนทัศน์ (Concept) การเมืองภาคพลเมืองของคนไทย 2) คุณภาพ
พลเมือง 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพพลเมือง ในทัศนะของกลุ่มตัวอย่าง
4) การเมืองภาคพลเมืองในอนาคต 5) ตัวแปร/ปัจจัยสำคัญของการเมืองภาคพลเมือง
ที่มีผลต่อความเป็นพลเมืองในอนาคต 6) ฉากทัศน์ความเป็นพลเมือง 7) ฉากทัศน์
การเมืองภาคพลเมือง 8) ความเสี่ยงที่มีผลต่อการเมืองภาคพลเมืองที่พึงปรารถนา
แต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้
5.1 มโนทัศน์ (concept)
การเมืองภาคพลเมืองของคนไทย
5.1.1 ความหมาย ความเข้าใจ ของการเมืองภาคพลเมืองในทัศนะ
ของกลุ่มตัวอย่าง
จากการเก็บข้อมูลในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสัมภาษณ์
กลุ่ม และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิรายบุคคล พบว่าประชาชนมีความเข้าใจ
การเมืองภาคพลเมืองที่แตกต่างกัน โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้
1) การเมืองภาคพลเมืองเชิงแนวคิด
การเมืองภาคพลเมืองในเชิงแนวคิด คือ ความตระหนักรู้ในสิทธิ หน้าที่
พลเมือง การตื่นตัวของประชาชนที่มีต่อระบอบประชาธิปไตย และการสร้างการรับรู้
ถึงข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีข่าวสารนำไป
สู่ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้นโดย
ไม่ถูกครอบงำ
248