Page 308 - kpiebook65057
P. 308

มีมากขึ้น มีการยอมรับเรื่องความเสมอภาคทางเพศมากขึ้น กฎหมายเริ่มรับรอง
               เพศที่สามมากขึ้น แม้ว่าความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศยังมีอยู่


                        จากการรวบรวมข้อมูลที่ได้สำรวจจะเห็นได้ว่า ความเข้าใจในการเมือง

               ภาคพลเมืองของคนไทยกลุ่มต่างๆ  ยังมีความเข้าใจการเมืองภาคพลเมือง
               ที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่แตกต่างไปจากแนวคิดทางวิชาการและ
               หลักการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ความเข้าใจที่แตกต่างกันสรุปได้ดังนี้



                        1) ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นการเคลื่อนไหวของการเมืองภาค
               ประชาชน (People’s Politics)


                        การเมืองภาคพลเมืองรูปแบบนี้เป็นลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง

               ที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ (Hard
               Power) เป็นลักษณะของการที่ประชาชนมีความไม่ไว้วางใจ และไม่เชื่อมั่นในตัวรัฐ
               ทำให้มีการรวมตัวกัน เช่น การประท้วงของประชาชน การเรียกร้องเพื่อให้มีการแก้ไข

               กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญที่ก่อให้เกิดปัญหาการลิดรอนสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
               หรือการล้มล้างอำนาจรัฐ เป็นต้น ทั้งนี้การเมืองภาคประชาชนที่มีเป้าหมายเพื่อ

               เข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐนั้นมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย เช่น
               การจัดสรรอำนาจที่ไม่สมดุล ความไม่เท่าเทียมในการบังคับใช้กฎหมาย ความไม่เท่าเทียม
               ในการจัดสรรทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำ การบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพส่งผล

               ให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและสังคมโดยรวม เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้
               เกิดความไม่พอใจในสังคม และนำไปสู่การชุมนุมตามท้องถนนของประชาชน


                        2) ความเข้าใจในลักษณะของการเคลื่อนไหวของการเมืองภาค

               พลเมือง (Citizen Politics)


                        การเมืองภาคพลเมืองเป็นลักษณะของการที่ประชาชนเข้าไปมีอิทธิพล
               ต่อการใช้อำนาจรัฐ (Soft Power) เช่น การกำหนดนโยบาย การแก้ไขกฎหมาย







                                                 253
   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313