Page 311 - kpiebook65057
P. 311

ปัญหาเชิงโครงสร้างต้องการการเปลี่ยนแปลงแบบเด่นชัด เช่น การต่อสู้ของนักศึกษา
             ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่ขับไล่รัฐบาลเผด็จการ การต่อสู้ของนักศึกษาและ
             ประชาชนในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 การต่อสู้ของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภา

             ทมิฬ 2535 การต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อเหลืองเสื้อแดง ตลอดจนการต่อสู้ของม็อบ
             เยาวชนและคณะราษฎรในปัจจุบัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยเห็นว่าการเมือง

             ภาคพลเมืองที่พึงปรารถนา คือ การเมืองภาคพลเมืองแบบที่สอง ที่พลเมืองต้องการ
             ที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่ออำนาจรัฐ เพื่อกำหนดกฎหมาย เสนอและปรับแก้นโยบาย
             เป็นพลเมืองที่มีสำนึกทางการเมืองที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคม ดังนั้น

             จึงควรมีนโยบายที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคพลเมืองเพื่อให้
             พลเมืองสามารถใช้อำนาจเพื่อกำกับควบคุมรัฐให้ดำเนินนโยบายที่ตอบสนองต่อ

             ประชาชน


                     ทั้งนี้ การกล่าวถึงประวัติศาสตร์การเมืองภาคพลเมืองคนส่วนใหญ่
             มักเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการเมืองภาคประชาชนระดับชาติที่ออกมาเรียกร้อง

             ให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ แต่การเมืองภาคพลเมืองที่ขับเคลื่อน
             โดยประชาชนระดับล่างยังไม่ได้รับความสนใจเท่าทีควร และยังมีความสับสนระหว่าง
             การเมืองภาคประชาชนกับการเมืองภาคพลเมือง ในอนาคตจึงควรมีการพูดถึง

             การเมืองภาคพลเมืองระดับล่างมากขึ้น เพื่อสร้างการเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง
             เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยพลเมืองสามารถมีความเข้มแข็งกระทั่งสามารถ

             เข้ามากำกับควบคุมการดำเนินงานของภาครัฐได้มากขึ้น






             5.2   คุณภาพของพลเมืองไทย



                     คุณภาพของพลเมืองมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงเวลา และ

             อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม
             บริบททางการเมือง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลง





                                              256
   306   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316