Page 309 - kpiebook65057
P. 309
รัฐธรรมนูญ หรือการเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้อำนาจเพื่อกำกับ
ควบคุมรัฐให้ดำเนินการตามที่ตนเองต้องการได้ โดยการเมืองภาคพลเมืองแบ่งออก
เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
2.1) การเมืองภาคพลเมืองเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของ
พลเมือง กล่าวคือ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐหรือกฎหมายที่มีปัญหา
ทำให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายหรือนโยบายเพื่อ
ลดผลกระทบ เช่น ปัญหาชาวบางกลอย กลุ่มชาติติพันธ์ ชาวบ้านในอำเภอจะนะ
กลุ่มสมัชชาคนจน เขื่อนปากมูล กลุ่มสมัชชาเกษตรกรรายย่อย พลเมืองกลุ่มนี้เป็น
พลเมืองที่เข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องชุมชนจากแผนพัฒนาหรือนโยบายรัฐ เรียก
ร้องให้เกิดการปกป้องสิทธิชุมชน เป็นลักษณะที่ปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายและ
กฎหมายที่มีปัญหาและส่งผลกระทบต่อชุมชน ทำให้พลเมืองลุกขึ้นเพื่อเรียกร้องให้
รัฐแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน
2.2) การเมืองภาคพลเมืองในเชิงสร้างสรรค์ คือ การเมืองที่ชุมชน
เต็มไปด้วยพลเมืองที่มีความกระตือรือร้น (active citizen) กลุ่มพลเมืองที่มีสำนึก
ทางการเมืองที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการใช้อำนาจรัฐ เช่น การเข้าไปมีส่วน
ร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาในชุมชน การมีส่วนร่วมในการต่อต้านการนำ
เข้าสารเคมี โดยไม่ได้เกิดจากแรงกดดันจากภายนอก แต่เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และ
ตระหนักถึงหน้าที่พลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ที่จะต้องเข้าไปมีบทบาทในการ
เปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเมืองภาคพลเมืองในเชิงสร้างสรรค์
มีหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยในด้านค่านิยมทางการเมือง กล่าวคือ หากพลเมืองมีค่า
นิยมทางการเมืองที่สนับสนุนส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนการเข้าไปมี
ส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย
สาธารณะก็จะกระตุ้นให้เกิดพลเมืองต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ตลอดจน
ปัจจัยในด้านการจัดสรรอำนาจหรือโครงสร้างอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญที่เป็น
ปัจจัยสำคัญในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง เช่น รัฐธรรมนูญ
2540 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง มีการรับรองสิทธิเสรีภาพ
254