Page 312 - kpiebook65057
P. 312

ทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทำให้พลเมืองมีแนวคิด ทัศนคติ
               ที่เปลี่ยนไป รูปแบบการทำงาน อาชีพ การดำรงชีวิตเปลี่ยนไป การเข้าถึงข่าวสาร
               ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้การถูกกดทับจากโครงสร้างอำนาจ

               ทางการเมืองที่ไม่สมดุล การเพิ่มการจัดสรรอำนาจให้กับกลุ่มการเมือง ข้าราชการ
               ทำให้อำนาจของประชาชนลดลง ระบบการศึกษาในปัจจุบันที่ไม่สามารถสร้าง

               พลเมืองให้มีคุณภาพ ทำให้ในปัจจุบันประชาชนถูกอำนาจรัฐ อำนาจทุนครอบงำ
               การตัดสินใจขึ้นกับบุคคลที่มีอิทธิพลที่สามารถชี้นำ อีกทั้งผู้นำชุมชน หรือตัวบุคคล
               ทำการยุยงปลุกปั�นเพื่อสร้างความแตกความสามัคคี การใส่ร้ายป้ายสี เกิดการใช้

               อำนาจในทางมิชอบ หรือใช้อำนาจเป็นเครื่องมือในการจัดการกับกลุ่มที่ขัดแย้ง
               ขั้วตรงข้าม ตลอดจนการใช้อำนาจเพื่อกลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหาย หรือใช้การ

               โยกย้ายตำแหน่งในการเล่นงานฝ่�ายที่เห็นต่าง ระบบการเมืองที่เข้ามาแทรกแซง
               การทำงานของฝ่�ายข้าราชการ ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม ทำให้เกิดความอ่อนแอ
               ของภาคพลเมือง อีกทั้งกฎหมายและนโยบายของรัฐยังมีผลต่อคุณภาพของพลเมือง

               ในปัจจุบัน กล่าวคือ นโยบายที่เน้นการแจกเงินและสิ่งของ ทำให้ประชาชนเป็น
               ผู้รอรับความช่วยเหลือ ไม่สามารถพึ่งตนเอง ขณะที่การผูกขาดอำนาจยังส่งผลให้

               ประชาชนไม่กล้าแสดงออกเนื่องจากถูกปิดกั้นจากกฎหมาย และเกรงกลัวอำนาจรัฐ
               ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถตระหนักในอำนาจของตนเอง ยังอยู่ภายใต้
               การควบคุมดูแลของรัฐ การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการเมือง

               ภาคพลเมืองยังทำได้ไม่ครอบคลุมทั่วถึง นอกจากนี้สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
               การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา


                        ปัจจุบันประชาชนขาดความรู้ในการบริหารจัดการภายในชุมชน อีกทั้ง

               ประชาชนไม่เข้าใจว่า การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายคือการเมืองภาคพลเมือง แต่เข้าใจ
               การเมืองภาคพลเมืองว่าเป็นการเลือกตั้ง ประชาชนยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องของ

               การเมือง เนื่องจากคิดว่าการเมืองคือการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ไม่มีความเข้าใจ
               บทบาทหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร บางส่วนยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องของการเมือง
               ภาคพลเมือง เพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ขณะที่ในการเลือกตั้ง เป็นการ

               ไปเลือกตัวแทนโดยไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพหรือความดีของบุคคลอย่างแท้จริง




                                                 257
   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316   317