Page 299 - kpiebook65057
P. 299
สื่อโทรทัศน์ ทำให้สังคมไทยมีความเข้าใจสภาพปัญหาของบ้านเมืองในเวลานั้น
มากขึ้น อิทธิพลทางแนวคิดในเรื่องสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมที่นำมาเผยแพร่
ในสังคมทำให้ประชาชนเริ่มตระหนักในอำนาจของตนเอง
2. สหภาพโซัเวียตล่มสลาย
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1991 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
ของการเมืองระหว่างประเทศและภูมิศาสตร์การเมืองโลก ซึ่งผลกระทบจาก
การล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลของ
ภูมิศาสตร์การเมืองโลก จากที่เคยมีสองขั้วอำนาจใหญ่คือสหภาพโซเวียตกับ
สหรัฐอเมริกากลายเป็นหลายขั้วอำนาจ หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายโลก
ระเบียบโลกได้เปลี่ยนมาส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยม
อย่างเต็มที่ ระบบทุนนิยมนับว่าเป็นระบบเศรษฐกิจหลักที่ส่งเสริมกลไกตลาดเสรี
(market economy)และการแข่งขัน ประเทศต่างๆ ต้องการจะก้าวขึ้นมาเป็น
มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยี อาทิ
จีน อินเดีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ�น บราซิล (ทรงพจน์ สุภาผล,2554) หลายประเทศ
ต้องการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน และเทคโนโลยีของโลก
ก่อนหน้าที่สหภาพโซเวียตจะล่มสลายเคยปกครองด้วยระบอบ
คอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วน
กลางแบบเบ็ดเสร็จ กิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกกำหนดและควบคุมโดยหน่วยงานรัฐ
การครอบครองวิสาหกิจหรือธุรกิจส่วนบุคคลจึงเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย รูปแบบ
เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตเป็นลักษณะของระบบทุนนิยมที่รัฐเข้ามากำกับดูแล
รัฐจะเป็นผู้ผูกขาดปัจจัยการผลิตและเป็นผู้ควบคุมกระบวนการสะสมทุน
เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตเป็นระบบเศรษฐกิจที่
เน้นการพึ่งตนเองที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามลักษณะเศรษฐกิจ
แบบนี้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบปิดที่เน้นการผูกขาดโดยรัฐ เป้าหมายทางเศรษฐกิจ
ในอดีต คือการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่างๆ จึงทำให้แนวคิดในเชิงเศรษฐกิจ
244