Page 293 - kpiebook65057
P. 293

9. การรัฐประหาร พ.ศ. 2557


                     ผลกระทบจากการ รัฐประหาร พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบ
             แห่งชาติหรือ คสช. เป็นการยึดอำนาจทางการเมืองมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

             การรัฐประหารในครั้งนี้นำประเทศเข้าสู่การปกครองในระบอบเผด็จการอำนาจนิยม
             อย่างเต็มรูปแบบ นำมาซึ่งการทำลายหลักการของระบอบประชาธิปไตย ทั้งในแง่
             ของการเลือกตั้ง การมีรัฐธรรมนูญที่จัดสรรอำนาจให้กับประชาชน การจำกัดสิทธิ

             เสรีภาพ ของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เนื่องจากมองว่าเป็นสิ่งที่บ่อน
             ทำลายความสงบเรียบร้อยหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ


                     การทำรัฐประหารในครั้งนี้  นำมาซึ่งการกลับขึ้นมามีอำนาจของ

             ชนชั้นนำทางการเมือง และบรรดาข้าราชการ ทำให้อำนาจต่อรองของฝ่�ายชนชั้นนำ
             มีมากขึ้นขณะที่อํานาจต่อรองของประชาชนลดลง ไม่สามารถเข้าไปมีอำนาจ

             ต่อรองทางการมืองได้อย่างเดิม ขณะที่การเคลื่อนไหวของการเมืองภาคพลเมือง
             หลังเกิดการรัฐประหารเป็นการชุมนุมต่อต้านคณะรัฐประหารโดยมวลชน นิสิต
             นักศึกษา รวมถึงการก่อตัวของพรรคการเมืองทางเลือกจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถ

             ที่จะเอาชนะระบอบเผด็จการได้


                     การทำรัฐประหารส่งผลกระทบต่อการเมืองภาคพลเมือง ในแง่ที่ทำให้
             อำนาจของประชาชนถูกลดทอนลง อีกทั้งการออกกฎหมายของคณะรัฐประหาร

             ยังทำลายกลไกการตรวจสอบ กลไกการถ่วงดุลอำนาจ ขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยี
             การสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทำให้ผู้มีอำนาจนำเสนอวาทกรรมในด้านความมั่นคงของ

             ประเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการกับผู้ต่อต้านการรัฐประหาร ใช้ปัญหาการทุจริต
             คอร์รัปชัน ความแตกแยกของคนในสังคมและความไม่สงบของบ้านเมืองเป็นกลไก
             ในการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับตนเองและพวกพ้องในการขึ้นสู่

             อำนาจทางการเมือง รวมถึงใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นวาทกรรมทางการเมืองเพื่อ
             ให้ประชาชนหันมาสนับสนุน ในครั้งนี้การเมืองภาคพลเมืองถูกขับเคลื่อนจาก








                                              238
   288   289   290   291   292   293   294   295   296   297   298