Page 288 - kpiebook65057
P. 288
และยุคทดลองประชาธิปไตยที่เคยเบ่งบานในช่วง 14 ตุลาคม 2516 สิ้นสุดลง
การเมืองกลับมาสู่ยุคถดถอยของการเมืองภาคพลเมืองเนื่องจากฝ่�ายขวา
กลุ่มชนชั้นนำไทยขึ้นมามีอำนาจและใช้กฎหมายในการปราบปรามฝ่�ายตรงข้าม
อย่างรุนแรง
6. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนลุกขึ้นมาเคลื่อนไหว
และขับไล่รัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร เพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือรสช. ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2534 เกิดการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
และมีการแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการแต่งตั้ง
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20
คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กระทั่งมีการร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง
ซึ่งต่อมาหลังการเลือกต้ัง เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี ที่เดิมวางแผนไว้ว่าคือหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม
ต่อมา พลเอก สุจินดา ที่เคยออกมาประกาศว่าตนจะไม่รับตำแหน่ง
ทางการเมืองใดๆ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งขัดต่อสิ่งที่เคยกล่าวไว้ จึงก่อให้เกิด
ความไม่พอใจของประชาชน และนำไปสู่การชุมนุมประท้วง
การประท้วงของประชาชนแผ่ขยายไปเป็นวงกว้างเพื่อต่อต้านการขึ้น
สู่อำนาจของ พลเอก สุจินดา ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม 2535 เจ้าหน้าที่
ตำรวจและทหารใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมส่งผลให้มีการเสียชีวิตและ
บาดเจ็บจำนวนมาก ต่อมามีพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เกี่ยวกับการหารือเพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมือง โดยมีการเรียกให้ฝ่�ายรัฐบาล
และฝ่�ายต่อต้านเข้าพบ และนำมาสู่การตัดสินใจลาออกของ พลเอก สุจินดา
ในที่สุด (วิกิพีเดีย, 2564)
233