Page 274 - kpiebook65057
P. 274
4.3 เหตุการณ์ในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อ
พัฒนาการการเมืองภาคพลเมือง
1. เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เหตุการณ์การอภิวัฒน์สยาม เป็นเหตุการณ์ที่ปัญญาชนและชนชั้นนำ
ที่มีโอกาสไปเรียนหนังสือในประเทศตะวันตกได้เห็นการพัฒนาประเทศที่ทันสมัย
มีระบบการปกครองที่ส่งเสริมความเท่าเทียมของประชาชนและมีรัฐธรรมนูญเป็น
กฎหมายสำคัญในการบริหารประเทศ ในเวลานั้นสังคมไทยเผชิญกับปัญหาต่างๆ
อาทิ ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาด้านโครงสร้างของระบบการเมือง การรวมศูนย์
อำนาจ เนื่องจากเป็นลักษณะการปกครองภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ระบบเจ้าขุนมูลนาย
ที่มีความล้าหลัง อีกทั้งระบบการศึกษาถูกจำกัดไว้ที่กลุ่มชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง ขณะที่
มีราษฎรจำนวนมากที่ยังไม่รู้หนังสือและไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ การประกันสุขภาพ
ยังไม่ครอบคลุม การแพทย์ยังไม่พัฒนารุดหน้าเมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บจึงไม่สามารถ
ทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราษฎรประสบกับภาวะข้าวยากหมากแพง
มีคุณภาพชีวิตที่ลำบาก การปกครองภายใต้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ไม่สามารถ
แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกสมัยใหม่
ได้ กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องมีการปฏิิรูปโครงสร้างการเมืองการปกครองเพื่อ
ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คณะราษฎรได้นำแนวคิดเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยมาใช้เพื่อเป็น
รูปแบบในการปกครองแบบใหม่ และในที่สุดจึงนำไปสู่การอภิวัฒน์สยามเมื่อวันที่
24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (Constitutional Monarchy)
ผลของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้มีการนำระบบรัฐสภา ระบบการเลือกตั้ง
ผู้แทนราษฎร และรัฐธรรมนูญมาปรับใช้ มีการตรากฎหมายต่างๆ เพื่อกำกับดูแล
ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การปฏิิวัติสยาม เป็นยุคเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็น
219