Page 28 - kpiebook65034
P. 28
27
ความไว้วางใจ ท�าให้มั่นใจได้ว่าการเข้ามาผูกพันของสาธารณชน
เกิดขึ้นได้จริง แต่ขั้นตอนเหล่านี้จะต้องใช้เวลา และอาจมีค่าใช้จ่าย
ดังนั้น ระดับขั้นของการมีส่วนร่วมในระดับสูงนี้จะมีประโยชน์มาก
ส�าหรับประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้งกันอยู่ และในกรณีที่มีปัญหาที่ซับซ้อน
ทั้งนี้ อาจมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจะท�ากระบวนการนี้ ถ้าข้อตกลง
ไม่เป็นไปตามหลักการเช่นสมาชิกของชุมชนไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่
ด�าเนินการ หรือสมาชิกของชุมชนบางส่วนมีความรู้สึกว่ามุมมองของ
พวกเขาไม่ได้รับการตอบสนอง และไม่น�าไปสู่การพิจารณาใดๆ ดังนั้น
ความไว้วางใจก็จะลดลงน�าไปสู่ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ
แย่ลงในอนาคต
การเข้ามาเกี่ยวข้องร่วมมือนี้ต้องใช้กระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์
โดยต้องท�าให้เกิดโอกาสในการที่จะส�ารวจประเด็นในเชิงลึกด้วย
5. การเสริมสร้างพลัง
เป้าหมายของขั้นตอนนี้เพื่อที่จะการน�าการตัดสินใจขั้นสุดท้าย
ไปสู่ประชาชน และหลักการที่ส�าคัญก็คือ ภาครัฐจะด�าเนินการตามที่
ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ ระดับของการเสริมพลังภาคประชาชนนี้
ถือว่าเป็นการน�าการตัดสินใจขั้นสุดท้ายอยู่ในมือของประชาชนโดยรวม
แต่ไม่จ�าเป็นว่าจะหมายถึงเป็นระดับของการสร้างความผูกพันของชุมชน
ที่สูงที่สุด แต่ทั้งนี้ระดับนี้การตัดสินใจสามารถที่จะด�าเนินการได้โดยชุมชน
โดยผ่านกระบวนการที่ต้องใช้การมีปฏิสัมพันธ์ และการสร้างความผูกพัน
บ้างเล็กน้อย เช่นการมีประชามติ ซึ่งจะเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ที่น้อย
แต่ถ้าเป็นกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก จะต้องใช้เวลานาน
และมีปฏิสัมพันธ์ในระดับที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่นถ้ามีการยอมรับรูปแบบ
ของการเสริมสร้างพลังจากฐานราก ซึ่งเป็นการท�างานกับชุมชน และ