Page 31 - kpiebook65030
P. 31

30  ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
          รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
           อิทธิพลของรัฐธรรมนูญเยอรมันที่มีต่อประเทศไทย


                   ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ได้กล่าวถึง
           ประเด็นสำาคัญของภารกิจของสถาบันพระปกเกล้าในการร่วมปฏิรูปประเทศ

           ผ่านโครงการออกแบบการจัดทำารัฐธรรมนูญ โดยคำาถามใหญ่ของในช่วงเวลานี้
           คือ ระบอบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนยังคงทำางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           จริงหรือไม่ ตัวแทนจะช่วยสะท้อนความต้องการของประชาชนทุกหมู่เหล่า
           ได้มากเพียงใด ทั้งนี้ ประเทศเยอรมันถือเป็นกรณีศึกษาที่ดี เนื่องจากมี
           ประสบการณ์ทางการเมืองจนกระทั่งนำามาสู่โครงสร้างทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ

           มีระบบเลือกตั้งอันสะท้อนความต้องการของประชาชนจนกลายเป็นต้นแบบ
           ของการออกแบบรัฐธรรมนูญของไทยเช่นกันตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

           จนถึงฉบับล่าสุด ไทยเองก็มีพัฒนาการทางรัฐธรรมนูญมาตลอดอันได้รับอิทธิพล
           จากระบบเลือกตั้งของเยอรมัน ตั้งแต่ระบบเลือกตั้งแบบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
           ที่มีปัญหาเรื่องเสียงส่วนน้อยที่สูญหาย จนเกิดการออกแบบระบบเลือกตั้ง

           ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่สะท้อนสัดส่วนเสียงทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น จนกระทั่ง
           ระบบเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่นำาระบบจัดสรรปันส่วนมาใช้แม้ว่า

           จะเป็นแบบบัตรใบเดียวซึ่งขณะนี้กำาลังแก้ไขอยู่ก็ตาม ดังนั้น บทเรียนในงาน
           สัมมนาธารณะวันนี้จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจถึงวิธีการออกแบบระบบเลือกตั้งที่สะท้อน
           ความหลากหลายของสังคม และสะท้อนผลประโยชน์ที่ประชาชนต้องการเป็นหลัก




           หลักกำรส�ำคัญที่เยอรมันให้ควำมส�ำคัญในรัฐธรรมนูญ


                   การรักษาความเป็นสหพันธรัฐ โดยหลักการแรกที่เยอรมันให้
           ความสำาคัญมาโดยตลอดคือ “การธำารงรักษาความเป็นระบอบสหพันธรัฐเยอรมัน”

           เพื่อป้องกันการรวมศูนย์อำานาจเข้าสู่ศูนย์กลางดังเช่นในยุครัฐบาลนาซี รวมถึง
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36