Page 34 - kpiebook65030
P. 34
33
ในขณะเดียวกันประเทศไทยเองก็มีการถกเถียงเรื่องระบบเลือกตั้งซึ่งถือเป็น
ประเด็นหนึ่งที่มีความสนใจจากสังคมอย่างมากในช่วงนี้ สอดคล้องไปกับ
ประสบการณ์ของเยอรมันจะช่วยได้ในเรื่องของกระแสการปฏิรูปกฎหมาย
ในเยอรมันในปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายเลือกตั้งกลายเป็นข้อถกเถียงที่สังคมเยอรมัน
ให้ความสนใจมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องเพดานขั้นตำ่า (threshold) ของ
คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองต้องได้รับเพื่อคำานวณที่นั่งในสภา โดยเยอรมัน
กำาหนดเพดานขั้นตำ่าไว้ที่ 5% เพื่อแก้ไขความผิดพลาดในช่วงรัฐบาลไวมาร์
ที่ไม่กำาหนดเพดาขั้นตำ่าที่พรรคการเมืองพึงได้รับ และส่งผลให้มีพรรคการเมือง
มากเกินไปจนรัฐสภาขาดเสถียรภาพ ขณะเดียวกันในเยอรมันยุคปัจจุบันกลับมา
คิดปัญหาข้อนี้กันอีกครั้งเนื่องจากความพหุนิยมทางวัฒนธรรมของเยอรมัน
ที่มีมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสะท้อนความเป็นสัดส่วนของประชากร
ก็มีมากขึ้นเช่นกันจากเดิมที่มีพรรคการเมืองในสภาเพียง 6-7 พรรคเท่านั้น
และคำาถามที่น่าสนใจคือ จำานวนพรรคการเมืองที่มีในสภานั้นสะท้อนเสียงของ
พลเมืองครอบคลุมจริงหรือไม่
การเลือกตั้งระบบสัดส่วน โดยการเลือกตั้งของเยอรมันนั้นเป็น
ระบบบัตร 2 ใบ ใบแรกนับคะแนนโดยผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะประจำา
แต่ละเขตเป็นเสียงแรก และบัตรที่สองจะคิดคะแนนเป็นสัดส่วนของพรรค
ที่พึงได้รับในรัฐสภา กล่าวคือ ไม่ได้มีการแบ่งตามพรรคที่ได้รับคะแนน หากแต่
ยังคำานึงถึงสัดส่วนของแต่ละพื้นที่ซึ่งสะท้อนผ่านคะแนนเสียงด้วยเช่นกัน
สิ่งสำาคัญที่สุดก็คือ การหาสมดุลระว่าง ส.ส. ที่มาจากแต่ละพื้นที่ กับ ส.ส.
ที่สะท้อนอุดมการณ์ของพรรคด้วย ทั้งนี้ปัญหาที่ต้องคำานึงคือ เรื่องของที่นั่ง
ส่วนเกิน อันมาจากคะแนนเสียงที่พรรคได้รับในพื้นที่มีมากจนเกินไป ขณะที่
คะแนนที่ได้รับในภาพรวมนั้นมีน้อยกว่าคะแนนในระดับพื้นที่ นอกจากนั้น
การจัดตั้งรัฐบาลจำาเป็นต้องมีเสียงส่วนใหญ่ในสภา การที่พรรคได้ที่นั่งส่วนเกินมา