Page 33 - kpiebook65030
P. 33
32 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
มองย้อนกลับมาที่ไทย โดยเมื่อมองย้อนกลับมายังกระแสการแก้ไข
รัฐธรรมนูญในไทย อันดับแรกต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเป็น
สิ่งที่ทำาได้ยาก ต้องใช้เสียงจำานวนมากกว่ากฎหมายทั่วไป อีกทั้งยังมีผลกระทบ
อีกมาก รัฐธรรมนูญจึงต้องสะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุนี้ กระบวนการจึงต้องใช้เวลานานและมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
และต้องได้รับการแสดงความไว้ใจที่มีต่อรัฐธรรมนูญ ต้องได้รับเสียงจากทั้ง
2 ใน 3 ของสภาจะจะสามารถได้รับการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ อย่างไรก็ตาม
ในรัฐธรรมนูญเยอรมันจะมีสิ่งที่พิทักษ์ไม่ให้มีการแก้ไขนั่นก็คือ การพิทักษ์
เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่นเดียวกับรูปแบบการปกครองแบบมลรัฐ
เพื่อพิทักษ์การปกครองที่รับฟังเสียงของประชาชนระดับพื้นที่อย่างแท้จริง
คำาถามที่น่าสนใจคือ ผู้ที่ออกแบบรัฐธรรมนูญควรคำานึงถึงอะไรบ้าง
แน่นอนว่าเป็นเรื่องของการที่รัฐธรรมนูญต้องแก้ไขได้ยาก แต่ไม่ใช่ว่ารัฐธรรมนูญ
เยอรมันไม่เคยมีการแก้ไขมาก่อนเลย หากแต่มีการแก้ไขมากกว่า 60 ครั้งแล้ว
เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทันยุคสมัย แต่เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อยเท่านั้น
และไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งฉบับ ตัวอย่างสิ่งที่เคยเสนอให้มีการแก้ไข
ในภาพรวมเช่น ตัวภาษาของรัฐธรรมนูญนั้นก็มีความล้าสมัยไปบ้างจนต้องมี
ความเปลี่ยนแปลง แต่ทว่าการขอแก้ไขทั้งฉบับก็เป็นเรื่องที่ยากมาก เป็นต้น
และบางกรณีเองก็ไม่สามารถแก้ไขได้เช่นกันเนื่องจากถูกยับยั้งโดยการตีความ
ของศาลรัฐธรรมนูญ
พลวัตของระบบการปกครองประเทศเยอรมันและเพดานคะแนนเสียง
ขั้นต�่า ระบบสหพันธรัฐกระทั้งในปัจจุบันก็กำาลังเป็นประเด็นถกเถียงสำาคัญ
ในเยอรมัน เนื่องจากระบบการปกครองของเยอรมันจะค่อย ๆ มีความเปลี่ยนแปลง
ไปอย่างช้า ๆ ตามห้วงเวลาประวัติศาสตร์เพื่อไตร่ตรองอย่างแน่ใจในทุกแง่มุม