Page 35 - kpiebook65030
P. 35
34 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
จะถูกนำาไปคำานวณใหม่ และปัญหาดังกล่าวได้ถูกนำามาแก้ไขปัญหาให้สมดุล
กลายเป็นระบบที่นั่งสมดุล ทว่ายังคงเป็นเรื่องที่ยากที่สามารถสร้างเสถียรภาพ
ให้แก่การคำานวณที่นั่งในสภา ดังนั้น ผู้ที่ชนะในระดับเขตยังคงได้รับสิทธิ์
ที่นั่งในสภา ขณะที่ส่วนเกินของคะแนนจากพรรคจะถูกนำากลับมาคำานวณใหม่
ให้มีความสมดุลกับพรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อให้คงความเชื่อมโยงระหว่างเสียง
ของประชาชนกับที่นั่งในสภา
ศาลรัฐธรรมนูญกับการเลือกตั้ง แม้ว่าจะถูกออกแบบมาให้พิจารณา
คดีทางการเมือง แต่กระนั้นศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันเองก็ไม่ต้องการเข้าไป
แทรกแซงผ่านการตีความเรื่องเล็กน้อยที่จะส่งผลต่อรัฐธรรมนูญเยอรมัน
ทั้งฉบับ เช่นในกรณีของเรื่องของเพดานขั้นตำ่า 5% ของพรรคการเมืองพึงได้รับ
เรื่องนี้เองก็ส่งผลให้ชาวเยอรมนีวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันถึงเรื่องของ
การไม่รับผิดชอบในการเข้าตีความในเรื่องของความเหมาะสมในการมีเพดาน
ขั้นตำ่า 5% เพราะพรรคขนาดใหญ่จะครอบงำาการเมืองในสภาได้ง่าย
ค�ำถำมที่น่ำสนใจท้ำยเวทีสำธำรณะ
ในช่วงถามตอบคำาถาม ดร. สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำานวยการ
ประจำาสำานักนวัตกรรม ได้เริ่มต้นประเด็นคำาถามว่า ระบบเลือกตั้งของเยอรมัน
แท้จริงแล้วเป็นเช่นไร เนื่องจากประเทศไทยใช้ระบบเลือกตั้งแบบ MMP
แม้กำาลังเลียนแบบระบบของเยอรมัน แล้วอะไรที่ทำาให้ระบบเลือกตั้งของเยอรมัน
มีความเฉพาะเจาะจงอันเป็นจุดเด่นที่โดดเด่นแตกต่างจากระบบเลือกตั้งของ
ประเทศอื่น ในทางกลับกัน จะทำาอย่างไรให้ไทยสามารถปรับสูตรการคำานวณ
ระบบเลือกตั้งให้เข้ากับรูปแบบการเมืองไทยมากกว่าจะทำาตามระบบ MMP ของ
เยอรมันแบบ 100% โดยวิทยากรได้ให้คำาตอบว่า ประเทศไทยไม่ได้ใช้ระบบ
สหพันธรัฐ เพราะฉะนั้นไทยก็ควรปรับสูตรการคำานวณคะแนนเสียงเลือกตั้ง